ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระบรมศาสดาทรงสดับเรื่องราวของพระเถระแล้วตรัส ตอบว่า “ศีลของเธอไม่ด่างพร้อย สมณ
ภาพของเธอยังมีอยู่ เขาจะประทุษร้ายต่อเธอผู้ไม่ประทุษร้าย จึงถึงความพินาศ มิใช่ แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
ในอดีตกาล เขาก็ประทุษร้ายผู้ไม่ประทุษร้าย ถึงความพินาศแล้วเหมือนกัน”
ครั้นเมื่อตรัสแสดงบุพกรรมของนายพรานแล้ว พระบรมศาสดาจึงตรัสพระคาถา ดังนี้
“ผู้ใดประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ไม่มีกิเลสดุจเนิน
บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัดทวน
ลมไป ฉะนั้น”
นักศึกษาย่อมทราบแล้วว่า พระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น เป็น 1 ในทิศ 6 ของคฤหัสถ์ เป็น
ผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในทิศเบื้องบน ทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่สอนวิชาความ เป็นมนุษย์ ที่
สำคัญคือเป็นผู้ชี้ทางสวรรค์ให้แก่คฤหัสถ์
สำหรับพระเถระในเรื่องนี้ แม้นายพรานจะไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหรือไม่
แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ศีลของท่านบกพร่อง พฤติกรรมของท่านไม่เหมาะสม หรือจะก่อให้เกิด
อันตรายแก่เขา เหตุไฉนจึงประทุษร้ายท่าน
ความหลงที่คิดไปอย่างไร้เหตุผล อันเป็นมิจฉาทิฏฐิในใจของเขานั่นเอง ที่กระตุ้นให้เขาโกรธ
จนไร้ความสำนึกรับผิดชอบ แล้วประทุษร้ายท่าน ซึ่งในที่สุดกลับกลายเป็นการประทุษร้ายตนเอง เข้า
ทำนองให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัวนั่นเอง
เรื่องที่ 2 ความโลภและความหลง ทำให้คนเราไร้ความสำนึกรับผิดชอบ
สมัยนั้น พระบรมศาสดา เสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี มีพ่อค้าเกวียนกลุ่ม
หนึ่ง ก่อนจะไปค้าขาย ได้ถวายมหาทานแก่พระบรมศาสดา ทูลขอพร แล้วก็ออกเดินทางไปกับกองเกวียน
500 เล่ม 1
ขณะเดินทางได้หลงทางไปถึงแดนกันดาร ขาดน้ำขาดอาหาร ครั้นเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง ซึ่ง
พญานาคยึดครองอยู่ แต่พ่อค้าไม่รู้ จึงปลดเกวียนเข้าพักใต้ต้นไทรนั้น
ครั้นสังเกตเห็นไทรมีใบเขียวชอุ่ม เสมือนอิ่มชุ่มด้วยน้ำ พวกพ่อค้าคิดว่าคงจะได้น้ำจากกิ่งไทร
นั้น ครั้นแล้วพ่อค้าคนหนึ่ง ก็ปีนขึ้นไปตัดกิ่งไทรทางด้านตะวันออกขาดลง ปรากฏว่ามีน้ำไหลพรั่งพรูออก
มาเสมือนเป็นท่อน้ำขนาดลำตาล เหล่าพ่อค้าจึงได้อาศัยน้ำนั้นอาบกินกันอย่างสบายใจ
ครั้นแล้วจึงพากันไปตัดกิ่งไทรทางด้านทิศใต้ ด้วยหวังจะได้พบสิ่งอัศจรรย์อีก ในทันทีที่กิ่งไม้
* อรรถกถามหาวาณิชชาดก ขุ. ชา. มก. 60 หน้า 487
บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 87