การให้และการแบ่งปันในพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 204
หน้าที่ 204 / 298

สรุปเนื้อหา

การให้ในบริบทนี้มีความหมายถึงการแบ่งปันอย่างจริงใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน การให้สิ่งของจากน้ำใจ เช่น อาหารหรือขนมในเทศกาลพิเศษ หรือสิ่งของที่ผู้รับต้องการ การให้แบบนี้ไม่เพียงแต่สร้างความสุขให้แก่ผู้รับ แต่ยังส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับโดยมีน้ำใจเป็นตัวเชื่อมโยง ผู้ให้เป็นผู้มีศีล มีธรรม และเป็นที่รักในสังคม การให้ทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจภายในชุมชน หากทุกคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ก็จะนำไปสู่การสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดการให้
-ความเอื้ออาทรในพุทธศาสนา
-ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ
-การสร้างมิตรภาพในสังคม
-ผลดีของการแบ่งปัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.4.1 การให้ (ทาน) การให้ในบริบทนี้มุ่งเอาการให้ หรือการแบ่งปันสิ่งของ ด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี รักใคร่ด้วยความจริงใจ ด้วยความเต็มใจ ด้วยความปรารถนาดี ด้วยความระลึกถึง โดยที่ผู้รับอาจจะ มิได้ขาดแคลนเลย ดังนั้น สิ่งของที่ให้จึงเป็นเสมือน ให้จากใจถึงใจ เช่น ผู้ให้มีอาหารอร่อยหรือมีขนม ซึ่ง มีเฉพาะในเทศกาลพิเศษ ก็แบ่งปันมาให้ผู้รับ สิ่งของบางอย่างผู้ให้รู้ใจ ว่าเป็นที่โปรดปรานของผู้รับ เมื่อ ผู้ให้พบเห็นจึงซื้อมาฝากผู้รับ เป็นต้น สิ่งของบางอย่าง ผู้ให้รู้ดีว่า ผู้รับกำลังต้องการ แต่หาซื้อไม่ได้ในขณะนั้น เพราะกำลังขาดตลาด แต่เพราะผู้ให้มีอยู่ จึงแบ่งปันมาให้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ สิ่งของทั้งหลายย่อมมีเจ้าของ ถ้าสิ่งของนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีโทษภัย มีแต่ประโยชน์ ผู้ให้ก็เป็น คนดี มีศีลมีธรรม อีกทั้งให้ด้วยความเต็มใจ ให้ด้วยความรักและปรารถนาดี อย่างบริสุทธิ์ใจ โดยมิได้หวัง ผลตอบแทนใดๆ หรือเพื่อหาคะแนนนิยม ผู้รับ ย่อมรู้สึกปีติยินดีปลาบปลื้มลืมไม่ลง กล่าวได้ว่า สิ่งของใดๆ ก็ตามที่ให้แก่กันและกัน ด้วยอัธยาศัยไมตรี สิ่งนั้นย่อมทั้งแช่อิ่มทั้ง เคลือบด้วยน้ำใจ จึงเกิดเป็นของมีฤทธิ์ขึ้นมาได้อย่างประหลาด สามารถผูกพันความรู้สึกที่ดีต่อกัน ระหว่าง ผู้ให้กับผู้รับอย่างยากที่จะเสื่อมคลาย ตัวอย่างเช่น แหวนที่เราซื้อเอง เพราะสวยถูกใจ เราจึงซื้อ แต่เราก็ ไม่รู้สึกปลื้มใจและสุขใจเท่ากับเมื่อได้เห็น หรือได้สวมแหวนวงที่มีผู้มอบให้เรา หรือซื้อให้เรา ไม่ว่าผู้ให้หรือ ผู้ซื้อนั้นจะเป็นผู้บังเกิดเกล้า เป็นบุตรธิดา เป็นคู่รัก เป็นสามีหรือภรรยา หรือเป็นเพื่อนก็ตาม ทั้งนี้เพราะ เมื่อเห็นแหวนนั้นทีไรก็ซึ้งในน้ำใจที่ผู้ให้มีต่อเราทุกครั้ง แท้ที่จริงการให้ปันหรือทานคือพฤติกรรมซึ่งแสดงน้ำใจเอื้ออาทรและปรารถนาดีที่คนเรามีต่อกัน เพราะฉะนั้น ถ้าบุคคลในทิศ 6 แสดงความเอื้ออาทรต่อบุคคลที่ตนแวดล้อมอยู่ โดยการให้ปันด้วย อัธยาศัยไมตรีอยู่เสมอ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถูกแวดล้อมก็แสดงความมีน้ำใจ ความกตัญญูกตเวทีต่อทิศ 6 ของ ตน ด้วยปฏิสัมพันธ์อันดีอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะก่อให้เกิดความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นอย่างดี ที่สำคัญก็คือผู้ให้ย่อมเป็นคนน่ารัก และสามารถผูกไมตรีกับผู้คนรอบข้างไว้ได้ ดังที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้” 1 ผู้ที่สามารถผูกมิตรกับผู้คนรอบข้าง และคนที่เข้ามาคบหาสมาคมไว้ได้ ก็เพราะเป็นคนน่ารัก เหตุที่น่ารักก็เพราะมีน้ำใจเอื้ออาทรด้วยความจริงใจ นี่คือศิลปะในการครองใจคนอย่างหนึ่ง ตามพุทธวิธี * สัง. ส. อาฬวกสูตร มก. 25/845/425 บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 189
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More