การสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการศึกษา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 79
หน้าที่ 79 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับความสำคัญของการสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในนักศึกษา โดยระบุวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ, การอธิบายกรรมกิเลสและความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, ความหมายและประเภทของอคติ, โทษของอบายมุข และความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีหลายประเภท พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อส่งเสริมความสำนึกในสังคมและสิ่งแวดล้อม.

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-กรรมกิเลส
-อคติ
-อบายมุข
-สัมมาทิฏฐิ
-การอนุรักษ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปฏิบัติหน้าที่ของตน ได้อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง และย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ด้วยการปกป้อง บำรุงรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติ และช่วยรักษา ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายได้ว่า ความเข้าใจของคนเราทั้ง 2 ระดับมีลักษณะอย่างไร 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจ อย่างมั่นคงได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ประเภท โทษของกรรมกิเลส และอธิบายได้ ว่าทำไมการเว้นขาดจากกรรมกิเลส จึงเป็นเหตุให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่ง ความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างถูกต้อง 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ประเภท โทษของอคติ และอธิบายได้ว่าทำไม การเว้นขาดจากอคติ จึงเป็นเหตุให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็น มนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคมได้อย่างถูกต้อง 5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ประเภท โทษของอบายมุข และอธิบายได้ว่า ทำไมการเว้นขาดจากอบายมุข จึงเป็นเหตุให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ได้อย่างถูกต้อง 6. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายได้ว่าความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีวิธีปฏิบัติอย่างไรได้อย่างถูกต้อง 64 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More