ผลกระทบของคำพูดที่ไม่สร้างสรรค์ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 206
หน้าที่ 206 / 298

สรุปเนื้อหา

คำพูดที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น การโกหก และการใช้คำหยาบนั้นสามารถทำให้เกิดความร้าวฉานในความสัมพันธ์ และส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจของผู้ฟังได้อย่างมาก การอบรมบ่มนิสัยตั้งแต่วัยเยาว์ และการเลือกใช้คำพูดที่สุภาพมีความสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ความเข้าใจในโทษภัยของอัปปิยวาจาช่วยให้คนมีอารมณ์ที่ควบคุมได้ และลดเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบของคำพูด
-การอบรมบ่มนิสัย
-ความสำคัญของการใช้ภาษา
-พฤติกรรมทางวาจาและอารมณ์
-ช่วยเหลือผู้อื่นผ่านคำพูด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด เพ้อเจ้อนินทา พูดดูถูกเหยียดหยาม พูดกระทบกระเทียบ เป็นคำพูดที่ ไม่สร้างสรรค์ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ มีแต่จะก่อให้เกิดความร้าวฉาน แตกสามัคคีกันในหมู่พวก คนที่เคย รักกันก็ระแวงกัน โกรธกัน เป็นศัตรูกัน แม้บางครั้งจะเป็นถ้อยคำสุภาพ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายดูถูกดูแคลนผู้ฟัง เป็นต้น ดังนั้น คำพูดของมิจฉาทิฏฐิชน จึงเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกท้อถอยหมดกำลังใจใน การทำความดี สำหรับตัวผู้พูดเอง นอกจากไม่น่ารักแล้ว ยังเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ของเพื่อนฝูง และอาจ จะมีภัยมาถึงตัวเป็นเนืองนิตย์ ถ้ามองในแง่ของการปลูกฝังอบรมบ่มนิสัย ย่อมกล่าวได้ว่า พฤติกรรมทางวาจาของคนเราสืบ เนื่องมาจากบุคคลหรือทิศที่แวดล้อมตัวเรานั่นเอง กล่าวคือ บุคคลที่ได้รับการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิมาจาก ทิศเบื้องหน้า เบื้องขวา รวมทั้ง ทิศเบื้องบน มาตั้งแต่เยาว์วัย ให้ละชั่ว ตั้งอยู่ในความดี อีกทั้งมีบุคคลในแต่ละทิศเหล่านั้นคอยเป็นแบบอย่าง ให้ยึดถือปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนเป็นนิสัย บุคคลประเภทนี้ย่อมมีปิยวาจาเสมอ เพราะคุ้นกับ การกล่าววาจาไพเราะ และตระหนักถึงโทษภัยของอัปปิยวาจา เป็นอย่างดี จึงเป็นคนน่ารัก น่าคบ ในทางกลับกัน บุคคลที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีทิศเบื้องหน้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบมิจฉา อาชีวะ พัวพันกับอบายมุข หรือมาจากครอบครัวประเภทบ้านแตกสาแหรกขาดมาตั้งแต่เยาว์วัย แม้เมื่อ ไปโรงเรียน ได้รับการอบรมจากทิศเบื้องขวาบ้าง แต่ก็ไม่มีพลานุภาพพอที่จะเปลี่ยนนิสัยสันดานของเขาได้ บุคคลเหล่านี้ย่อมคุ้นอยู่กับอัปปิยวาจาโดยไม่รู้ถึงโทษภัยของพฤติกรรมชั่วร้ายนี้เลย จึงเป็นคนไม่น่ารัก ไม่ น่าคบ ถ้ามองในแง่อารมณ์ของผู้พูด ย่อมกล่าวได้ว่า พฤติกรรมทางวาจาของคนเราขึ้นอยู่กับ อารมณ์ของบุคคลในขณะที่พูด กล่าวคือ บุคคลที่ได้รับการอบรมปลูกฝังอย่างดีมาแต่เยาว์วัย ย่อมจะมีอารมณ์เย็น สุขุม ไม่ วู่วาม ย่อมพูดถ้อยคำสุภาพอ่อนน้อม เป็นคำจริง มีประโยชน์ ยกใจผู้คน โดยสรุปก็คือบุคคลประเภทนี้จะ มีปิยวาจาเสมอ ขณะใดที่อารมณ์ขุ่นมัวก็จะพยายามข่มใจ แล้วจึงค่อยพูดออกมาด้วยอารมณ์เป็นปกติ แต่ ถ้ายังข่มใจให้สงบไม่ได้ ก็จะเงียบเสีย ไม่กล่าววาจาใดๆ ออกมา เพราะรู้ตัวดีว่า ถ้ากล่าวถ้อยคำใดๆ ออก ไปในขณะนั้น ก็จะต้องเป็นอัปปิยวาจา ซึ่งจะก่อให้เกิดโทษภัยได้มากมายตามมา ในทางกลับกัน บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ เนื่องจากขาดการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิมาแต่เยาว์วัย ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสตลอดเวลา จึงเป็นคนอารมณ์ร้อน เพราะอำนาจโทสะที่นอนเนื่องอยู่ในใจ ไม่ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ก็จะขาดหิริโอตตัปปะ กล้าพูดคำหยาบคายรุนแรง พูดดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นโดยไม่มีความเกรงใจและไม่อายใคร หรือพูดโกหกโดยไม่กลัวบาปกรรม บุคคล อารมณ์ร้อน ประเภทนี้ย่อมเป็นคนกักขฬะหยาบคาย จึงเป็นคนไม่น่ารัก ไม่น่าเข้าใกล้ บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 191
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More