ความยั่งยืนแห่งคุณสมบัติของคนดี GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 132
หน้าที่ 132 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการใช้ทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการทำสัมปทาและการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร ซึ่งช่วยให้บุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ ทั้งระดับต้นและระดับกลาง โดยยกตัวอย่างสังคมไทยในการประกอบอาชีพเพื่อแสดงถึงความสำคัญของเครือข่ายคนดี รวมถึงคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับสมาชิกในเครือข่ายเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุดท้ายยังเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิในสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การใช้ทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
-คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
-ความสำคัญของเครือข่ายคนดี
-เป้าหมายชีวิตในมุมมองพุทธศาสนา
-การพัฒนาสังคมผ่านเครือข่ายกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตนแล้ว ได้ใช้จ่ายเลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ทำนุบำรุงพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบแล้ว เมื่อเราปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำ ในสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว บุคคลเช่นนี้ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยเจ้า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญเรา นั่นคือเขาได้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้นแล้ว เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ใจในสรวงสวรรค์อย่างแน่นอน เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์เป็นนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า จะต้องบริหารหรือใช้ทรัพย์ที่เป็น “รายเหลือ” ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำจากสัมปทาในรูปแบบต่างๆ บุคคลยิ่งสามารถทำจากสัมปทาได้มากเท่าใด นอกจากจะมีความสุขใจอย่างแน่นอนในปัจจุบันแล้วยังสามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตได้ทั้งระดับต้น และระดับกลางอีกด้วย 3.2.5 เครือข่ายกัลยาณมิตร คือกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จทั้งปวง ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความเข้าใจนักศึกษาอีกครั้งหนึ่งว่าคำว่าเครือข่ายกัลยาณมิตรของเรานั้น ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. ตัวเราเองต้องเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงคือมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร หรือมีความเป็นมิตรแท้อย่างสมบูรณ์พร้อม 2. กัลยาณมิตรในเครือข่ายแต่ละคนก็ต้องเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง หรือ ถ้ายังไม่มั่นคง ก็ต้องรู้จักตัวเอง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนให้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ด้วย การพยายามซึมซับคุณความดีจากกัลยาณมิตรในเครือข่ายคนดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป 3. ต้องร่วมกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและสังคม เพื่อประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อ พัฒนาเครือข่ายกัลยาณมิตรให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายเครือข่ายกัลยาณมิตรให้กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ และ เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิในใจของกัลยาณมิตรแต่ละคนให้แก่รอบยิ่งขึ้น ถ้านักศึกษาย้อนกลับไปดู อุ - อา - ก - ส ซึ่งอธิบายจบ ไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง ย่อมจะเห็นว่า เครือข่ายกัลยาณมิตรมีบทบาทสำคัญที่สุด ต่อทั้ง 3 หัวข้อ คือ อุ - อา - ส กล่าวคือ ในหัวข้อ “หาเป็น” หรือ “อุฏฐานสัมปทา” นั้น ถ้าสังคมเต็มไปด้วย “คนตาเดียว” ขาดแคลนผู้มีลักษณะนิสัย “กัลยาณมิตร” ผู้คนในสังคมย่อมไม่มีทางประกอบอาชีพอย่างสุจริตได้เลย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนในสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมานี้ก็คือ ทั้งๆ ที่ผู้คนโดยทั่วไปประจักษ์แจ้งแก่ใจแล้วว่าการค้ายา เสพติดให้โทษ เป็นงานผิดศีลธรรม และกฎหมาย มีโทษร้ายแรงตามกฎหมายถึงขั้นประหารชีวิต และริบ ทรัพย์สมบัติ แต่ก็มีผู้คนมากมายพากันเข้าไปสู่อาชีพนี้ ราวกับแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ฉะนั้น นี่คือเหตุผลที่แสดงว่า “การหาเป็น” จะเกิดขึ้นได้จริงก็เฉพาะในสังคมที่มีเครือข่าย กัลยาณมิตรเท่านั้น มิฉะนั้นการหาก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ประการหนึ่ง หรือถ้าประสบผลสำเร็จ บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณ สมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More