ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปฏิกิริยาของผู้ใหญ่ต่อเด็กดังได้กล่าวแล้วมีผลเสียอย่างไร
ผลเสียของปฏิกิริยาดังกล่าวของผู้ใหญ่ นอกจากจะไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการ
แสดงออกของเด็กๆ แล้ว ยังเป็นการปิดกั้นโยนิโสมนสิการ คือความคิดหาเหตุผล ทั้งของผู้ใหญ่เองและ
ของเด็กๆ อย่างสิ้นเชิงอีกด้วย ซึ่งจะมีผลติดตัวเป็นลักษณะนิสัยไม่รู้จักคิดหาเหตุผล ไม่มีนิสัยพิจารณา
ไตร่ตรอง ไม่มีนิสัยกระตือรือร้นค้นคว้าหาความรู้ เชื่ออะไรง่ายๆ เชื่อคนง่าย หรือคิดอะไรผิดๆ จึงทำผิด
พลาดบ่อยๆ ที่มีผลร้ายที่สุด คือลักษณะนิสัยแบบนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านความคิดจิตใจ ที่
ถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งเรื่อยไป ไม่ขาดสายในสังคมไทย
ทำไมผู้ใหญ่ส่วนมาก จึงไม่ยินดีตอบคำถามเด็กช่างซักช่างถาม
ถ้าวิเคราะห์อย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุที่พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ที่ไม่
ยินดีในการตอบคำถาม มิหนำซ้ำยังพาลแสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ และดุว่าเด็กๆ ช่างชักช่างถาม ก็
เพราะว่า
1) ตนเองขาดความรู้ในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก
2) ตนเองขาดโยนิโสมนสิการ เคยทำสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสบการณ์ แม้ทำได้ถูกต้องดีงาม แต่
ไม่เคยคิดหาเหตุผลที่ลึกซึ้งว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
3) นอกจากนี้บางอย่างตนเองยังขาดความรู้ คือข้อมูลไม่พอที่จะตอบคำถาม จึงต้องตัดบท
และปรามเด็กๆ ไม่ให้ซักถามต่อไปด้วยการแสดงอารมณ์หงุดหงิด เพราะเกรงว่าเด็กจะรู้ว่าตนยังไม่รู้เช่นกัน
แท้ที่จริง การที่เด็กช่างซักช่างถามก็เพราะความอยากรู้ และแต่ละคนก็ยังอ่อนเยาว์ด้วยปัญญา
ดังนั้นคำถามแต่ละคำถามของเด็กย่อมไม่ใช่เรื่องยากลึกซึ้งอะไรนัก แต่ถ้าผู้ใหญ่ไม่รู้คำตอบจริงๆ ก็อาจจะ
ให้คำตอบเชิงสันนิษฐานไปก่อน หรือ อาจผัดผ่อนขอเวลาไปค้นหาคำตอบมาให้ ย่อมจะเป็นทางออก ที่มี
คุณประโยชน์กว่าการตัดบท ด้วยการแสดงปฏิกิริยาต่อเด็กในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ยิ่งกว่านั้นยังจะทำให้
เด็กเกิดศรัทธาในตัวผู้ใหญ่มากขึ้นอีกด้วย ขณะเดียวกันก็จะได้ซึมซับแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาของ
ผู้ใหญ่มาเป็นของตนโดยปริยาย
การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิต มีหลักการอย่างไร
มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ของตน จำเป็นจะต้องศึกษา แล้ว
นำมาประยุกต์ใช้ในการทำหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง อย่างผู้เป็นบัณฑิต ธรรมะหมวดนี้ มีชื่อว่า “วุฒิธรรม”
คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งประกอบด้วยองค์ 41 ดังนี้
1) คบสัตบุรุษ หมายความว่า “หาครูดีให้พบ” เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในที่นี้ หมายถึงว่า
* ปัญญาวุฒิสูตร อัง, จตุก. มก. 35/248/613
บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ
DOU 135