อบายมุข 6 ประการ และความชอบธรรม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 272
หน้าที่ 272 / 298

สรุปเนื้อหา

ความสำคัญของการไม่ละเมิดความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ควรยึดถือในชีวิต โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงอบายมุข 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย การเสพของมึนเมา, การเที่ยวกลางคืน, การดูมหรสพ, การพนัน, คบคนชั่ว, และการเกียจคร้าน อบายมุขแต่ละอย่างเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมจากโภคทรัพย์และเศรษฐกิจ ฯลฯ โดยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นถึงความเสื่อมที่สามารถเกิดขึ้นจากการละเมิดนี้ ทั้งในระดับส่วนตัวและในระดับชาติ

หัวข้อประเด็น

-อบายมุข 6 ประการ
-ความชอบธรรม
-การเสพของมึนเมา
-การพนัน
-มิตรชั่ว
-ความเกียจคร้าน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ บุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น” 1 7.5 อบายมุข 6 ประการ [247] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข 6 ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย ยศของ 1. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย 2. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็นอบายมุขแห่งโภคะ ทั้งหลาย 3. การหมกมุ่นเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย 4. การหมกมุ่นในการเล่นการพนัน อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะ ทั้งหลาย 5. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย 6. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย อธิบายความ : อบายมุข มาจากคำ 2 คำ คือ 1. คำว่า “อบาย” แปลว่า ความเสื่อม 2. คำว่า “มุข” แปลว่า ปากทาง อบายมุข แปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม เมื่ออบายมุขเป็นปากทาง เราจึงยังมองไม่เห็นความเสื่อมทันที เพราะความเสื่อมจริงๆ มันเป็น “ปลายทาง” แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมองเห็น และทรงชี้ให้เราเห็นด้วยว่า ปากทางแห่งความเสื่อมเหล่านี้ มี 6 ทาง และปลายทางของอบายมุขนี้ ย่อมมีความ ย่อยยับของโภคทรัพย์ หรือ ความพินาศของเศรษฐกิจรออยู่ ซึ่งระดับของความเสียหายนั้น มีตั้งแต่ระดับส่วนตัว จนกระทั่งถึงระดับชาติ ตลอดจนระดับโลก 1 ดูเทียบ องฺ. จตุกฺก. (แปล) 21/17-31 บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 257
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More