การปรับความเข้าใจและผลของบุรพกรรมในพระพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 209
หน้าที่ 209 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพบกันของพระเถระทั้งสองที่วิหาร และการปรับความเข้าใจกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลของพระธรรมกถึกที่ทำให้เกิดความแตกแยก นอกจากนี้ยังมีการเล่าเรื่องบุรพกรรมของพระพุทธองค์ที่ทำให้ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ โดยการพูดถึงลักษณะของปิยวาจาและอัปปิยวาจาที่มีผลต่อกรรมและจิตใจของบุคคลในพระพุทธศาสนา โดยสื่อความหมายถึงการใช้คำพูดที่ส่งผลต่อชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การปรับความเข้าใจกัน
-ผลของบุรพกรรม
-การใช้คำพูดในพุทธศาสนา
-ปิยวาจาและอัปปิยวาจา
-วิบากกรรมของพระพุทธองค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ครั้นเวลาล่วงไปประมาณ 100 ปี พระเถระทั้งสองได้ เดินทางไปพบกันที่ใกล้วิหารเดิมโดยบังเอิญ และได้พูดปรับความเข้าใจกัน จึงได้รู้ว่าเป็นอุบายของพระธรรมกถึกที่ทำให้ท่านต้องแตกแยกกัน ดังนั้น พระเถระทั้งสองจึงชวนกันเข้าไปต่อว่าพระธรรมกถึก ซึ่งยังคงพักอยู่ในวิหารนั้น เป็น เหตุให้พระธรรมกถึกรู้สึกร้อนรนจนต้องรีบออกจากวิหารทันที แม้สมณธรรมที่พระธรรมกถึกรูปนั้น บำเพ็ญมาแล้วถึงสองหมื่นปี ก็มิอาจจะคุ้มครองท่านได้ ท่านจึงต้องเคลื่อนจาก อัตภาพมนุษย์ไปเกิดใหม่ในอเวจีมหานรก ถูกไฟนรกหมกไหม้อยู่ตลอดพุทธันดร (พุทธันดร หมายถึง ช่วงเวลาที่ว่างจากพระพุทธเจ้า คือ ช่วงเวลาหลังจากพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งนิพพานแล้ว กับที่พระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งจะมาตรัสรู้) ต่อจากนั้นจึงเปลี่ยนอัตภาพมาเป็นเปรตอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ มี รูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่ศีรษะคล้ายสุกร และมีหางออกจากปาก ปากนั้นมีกลุ่มหนอน ทะลักไหลออกมา ตลอดเวลา เรื่องที่ 3 บุรพกรรมที่ทำให้พระพุทธองค์ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา ครั้งหนึ่ง พระบรมศาสดา ได้ตรัสเล่าเรื่องบุรพกรรมของพระองค์" ว่า ในสมัยพระกัสสป สัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าวกับพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง” พระบรมศาสดาได้ตรัสเล่าต่อไปว่า “เพราะวิบากกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมายอยู่ที่ตำบล อุรุเวลา ถึง 6 ปี จากนั้นจึงได้บรรลุพระโพธิญาณ เรามิได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด โดยหนทางนั้น เราถูกกรรม เก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด เรามีบุญและบาปสิ้นไปหมดแล้ว เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มี ความโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพานแล จากตัวอย่างที่ยกมานี้ ทนักศึกษาคงจะเกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ปิยวาจามีลักษณะ อย่างไรบ้าง อัปปิยวาจามีลักษณะอย่างไรบ้าง ถ้อยคำธรรมดาที่มิได้มีความอ่อนหวาน แต่มีความหมาย ลึกซึ้งกินใจ และผู้พูดก็พูดด้วยความจริงใจ ถูกใจ หรือโดนใจผู้ฟัง ก็ถือว่าเป็นปิยวาจา ถ้อยคำธรรมดาที่ดูเหมือนไม่หยาบคาย แต่ผู้พูด พูดเพราะขาดศรัทธารู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ ประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคุณธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง หยั่งรู้ได้ยาก ย่อมกลายเป็นอัปปิยวาจา และ มีผลเป็นวิบากแห่งกรรมชั่ว ที่ผู้พูดจะได้รับอย่างไม่มีทางเลี่ยง ข. อป. อรรถกถาพุทธาปทาน มก. 70 หน้า 214 194 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More