ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในชาติที่ 2 ได้เกิดเป็นเด็กหญิงในตระกูลช่างทำเกวียนที่มีหนี้สินมากมาย จึงถูกนายกอง
เกวียนริบเอาทรัพย์สมบัติไปพร้อมทั้งเอาตัวเด็กหญิงไปด้วย ครั้นเธอโตเป็นสาวอายุได้ 16 ปี ก็ตกเป็น
ภรรยาน้อยของบุตรชายของนายกองเกวียน ภรรยาหลวงของบุตรชายนายกองเกวียนเป็นคนดีมาก เธอ
จึงพยายาม ทำทุกทาง เพื่อให้บุตรชายนายกองเกวียนเกลียดชังภรรยาหลวงของเขา
ในปัจจุบัน (ขณะที่เล่าเรื่อง) เธอเกิดมาเป็นธิดาคนเดียวของเศรษฐีในกรุงอุชเชนนี ครั้นโตเป็นสาว
บิดาได้จัดการให้เป็น สะใภ้ของเศรษฐีจากเมืองสาเกต แม้เธอจะปรนนิบัติสามีเสมือนหญิงรับใช้ เสมือน
ปรนนิบัติบุตรน้อย แต่สามีก็เกลียดเธอมาก และหนีเธอไปอยู่ที่อื่น เธอจึงถูกส่งตัวกลับมาอยู่กับพ่อแม่ หลัง
จากอยู่ที่บ้านสามีได้เพียง 2 เดือน
ต่อมาพ่อแม่ของเธอก็จัดการหาสามีคนที่ 2 ซึ่งเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย เธอพยายามปรนนิบัติ
สามีอย่างดีที่สุด แต่อยู่ด้วยกันได้เพียงเดือนเดียว สามีก็ขับไล่เธอออกจากตระกูล
เมื่อเธอกลับมาอยู่กับพ่อแม่พ่อแม่ของเธอก็ยังอุตส่าห์เกลี้ยกล่อมชายขอทานคนหนึ่งซึ่งมีนิสัยดี
ให้เปลี่ยนสถานภาพ มาเป็นสามีของเธอ แม้เธอจะยกย่องปรนนิบัติเขาอย่างดี แต่ครั้นเวลาผ่านไปเพียง
ครึ่งเดือน ชายขอทานนั้นก็กราบลาท่านเศรษฐีผู้พ่อตาขอกลับไปขอทานดังเดิม
เพราะเหตุนี้ เมื่อเธอได้มีโอกาสถวายทานแก่พระอรหันตเถรีองค์หนึ่งชื่อ ชินทัตตาเถรี เธอจึง
ตัดสินใจขออนุญาตบุพการีออกบวช และได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตเถรี
จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการนำเสนอเรื่องนี้ ก็เพื่อเตือน สติชายเจ้าชู้ทั้งหลาย ให้ตระหนัก
ถึงวิบากกรรมที่ตนจะได้รับในภพชาติต่อๆ ไป อีกทั้งให้เกิดปัญญาระลึกนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของ
ตนในการให้ต้นแบบจิตใจที่เป็นมนุษย์แก่บุตร
อนึ่งมีคำอธิบายปรากฏอยู่ใน อรรถกถาอัคคัญญสูตร 1 ว่าอันที่จริงนั้น หญิงก็สามารถเปลี่ยน
เป็นชายได้ ชายก็เปลี่ยนเป็นหญิงได้ กล่าวคือ หญิงใดที่ปรารถนาจะเกิดเป็นชายในภพชาติต่อไป ถ้าได้
พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นชายโดยลำดับก็จะสำเร็จสมปรารถนา ส่วนชายใดที่
ปรารถนาจะเกิดเป็นหญิง ถ้าประพฤติตนเป็นคนเจ้าชู้ ผิดศีลข้อ 3 ก็จะได้เกิดเป็นหญิงสมใจนึกทีเดียว
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่า มีผู้คนจำนวนมาก มีปัญญามืดบอดด้วยอำนาจกิเลสในกมล
สันดาน เห็นว่า “บิดาไม่มี” คือไม่มีพระคุณต่อบุตร ความเห็นผิดเช่นนี้จัดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” ในทางกลับกัน
กลุ่มบัณฑิต เห็นว่า “บิดามี” คือมีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง ความเห็นถูกของพวกเขาจัดเป็น
“สัมมาทิฏฐิ”
- อรรถกถาอัคคัญญสูตร ที. ปา, มก. 15 หน้า 182
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์ DOU 49