การไหว้ทิศ 6 ในอริยวินัย GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 267
หน้าที่ 267 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้ทิศ 6 ในอริยวินัย ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่สิงคาลกะ คหบดีบุตร โดยสอนว่าการปฏิบัติตามอริยวินัยจะช่วยให้บุคคลลดกิเลส และประสบความสามารถในการครองชีวิตอย่างมีความสุข ผ่านการไม่ทำบาปกรรมและการปิดป้องทิศ 6 ที่ทำให้เกิดความยินดีในทั้งโลกนี้และโลกหน้า.

หัวข้อประเด็น

-อริยวินัย
-การไหว้ทิศ 6
-อริยสาวก
-การลดกิเลส
-ความดีงาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.2 ทิศ 6 [244] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร” ในอริยวินัย เขาไม่ไหว้ทิศ 6 กันอย่างนี้ อธิบายความ : วินัย คือ กฎระเบียบ หรือกติกา สำหรับควบคุมความประพฤติทางกายและ วาจา ของบุคคล เพื่อยกตนเองขึ้นสู่ความดีงาม และความบริสุทธิ์ด้วยประการต่างๆ ซึ่งในที่สุด จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทั้งต่อตนเอง และสังคมส่วนรวม อริยสาวก หมายถึง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้ด้วยความเต็มใจ จนเป็นปกตินิสัย เป็นเหตุให้กิเลสลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ จนกระทั่ง หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงประสบความร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาล ดังนั้น คำว่า “อริยวินัย” จึงมีความหมายเป็น 2 นัย 1) อริยวินัย คือ วินัยสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา ของปุถุชน คนมีกิเลสหนาทั่วๆ ไป เพื่อให้กิเลสลดลง จนกระทั่งบรรลุถึงความเป็นอริยะ 2) อริยวินัย คือ วินัยซึ่งอริยสาวกยึดถือปฏิบัติกันเป็นปกติ จึงครองชีวิตเป็นสุข สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัย เขาไหว้ทิศ 6 กันอย่างไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ตามวิธีการไหว้ทิศ 6 ในอริย วินัยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส (กรรมเครื่องเศร้าหมอง) 4 ประการได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ และไม่ข้องแวะอบายมุข (ทางเสื่อม) 6 ประการ แห่ง โภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากบาปกรรม 14 ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ 6 ปฏิบัติ เพื่อครองโลกทั้งสองทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อธิบายความ : พระองค์ทรงเริ่มต้นแสดงธรรมด้วยการกำหนดมาตรฐานของคนดีที่ โลกต้องการให้แก่สิงคาลกมาณพฟังก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจถูกเบื้องต้น ก่อน - ปิดป้องทิศ ในที่นี้หมายถึง ปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าทิศ 6 (ที. ปา. ฎีกา 244/159) 252 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More