ข้อความต้นฉบับในหน้า
ให้เต็มตามกำลังสติปัญญามากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยไม่ตั้งเงื่อนไข ต่อรองขอ
บำเหน็จรางวัลจากนายจ้าง
5) นำเกียรติคุณของนายไปสรรเสริญ ลูกน้องที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ก็เพราะมีพื้นฐานจิตใจ
เป็นคนดี มีความจงรักภักดีต่อเจ้านายด้วยความจริงใจ ประกอบกับเจ้านายก็เป็นคนดี มีสัมมาทิฏฐิ มี
ความเมตตากรุณาต่อลูกน้องอย่างถ้วนหน้า และเสมอต้นเสมอปลาย
หน่วยงานใด หรือองค์กรใดที่ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา หรือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
ต่างฝ่ายต่างสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 5 ประการตามความรับผิดชอบของตน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้
อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง และสม่ำเสมอ ก็เพราะต่างฝ่ายต่างมีลักษณะนิสัยมิตรแท้ มีความรักสมัคร
สมานสามัคคีโดยทั่วกัน ย่อมหวังได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรนั้น จะประสบความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ไม่มี
วันตกต่ำา
อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาให้ลึกลงไปทางด้านธรรมะ ถามว่ามีธรรมะอะไรบ้าง ที่ทำให้ทั้งฝ่าย
ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถประสานความร่วมมือกันได้อย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิผล
ธรรมะซึ่งฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นก็คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งประกอบด้วย
1) ฉันทะ หมายถึง ความมีใจใฝ่รักงานในหน้าที่ของตน และตั้งใจจะทำให้เกิดผลดียิ่งๆ ขึ้น
ไปอีกไม่มีนิสัยเกี่ยงงานแม้แต่น้อย
2) วิริยะ หมายถึง ความขยันพากเพียรในการทำงานในหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง อดทน ไม่
ท้อถอย ไม่ท้อแท้ เห็นอุปสรรคของงานก็รู้สึกสนุกสนานในการต้องแก้ปัญหานั้นๆที่เกิดขึ้น เสมือนทารก
เห็นขนม คือขนมยิ่งมากทารกก็ยิ่งสนุกในการกินขนมอร่อยๆ นั้นๆ
3) จิตตะ หมายถึง มีจิตใจจรดจ่ออยู่กับงาน ชนิดไม่เสร็จไม่เลิก ไม่สำเร็จไม่ยอมแพ้ หลอม
จิตใจกับงานเป็นหนึ่งเดียวกัน
4) วิมังสา หมายถึง ตรวจสอบประเมินผลการทำงานของตนอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็คิดค้น
วิธีแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นทุกๆ ด้าน
ผู้เป็นลูกน้องซึ่งทำงานด้วยอิทธิบาทธรรมดังกล่าว นอกจากตนเองจะมีผลงานดีเด่น ก่อให้
เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ตนแล้ว ยังจะมีส่วนส่งเสริมความก้าวหน้าอย่างมากแก่ลูกพี่ และองค์กรอีกด้วย
ในทำนองกลับกัน ผู้บังคับบัญชาที่สามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งยังขาดอิทธิบาทธรรม ให้
สามารถพัฒนาอิทธิบาทธรรมขึ้นได้ หรือจะสามารถเลี้ยงน้ำใจผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้กอปรด้วยอิทธิบาทธรรม
ให้ทุ่มเทชีวิตจิตใจทำการงานให้องค์กร ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นจะต้องตั้งมั่นอยู่ใน พรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบ
ด้วย
บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 163