การฝังขุมทรัพย์: วิธีการเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 122
หน้าที่ 122 / 298

สรุปเนื้อหา

การฝังขุมทรัพย์หมายถึงการเก็บรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ มี 2 วิธีคือ การเก็บเป็นทรัพย์หยาบ ใช้ในชีวิตนี้ ซึ่งไม่ปลอดภัยนัก และการเก็บเป็นทรัพย์ละเอียด โดยการบริจาคเพื่อสร้างบุญ การเก็บทรัพย์หยาบอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียและสร้างปัญหาในครอบครัว ส่วนการเก็บทรัพย์ละเอียดช่วยให้เกิดประโยชน์ทางจิตใจและสังคมมากขึ้น โดยสรุป การเก็บทรัพย์ควรมีการพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง.

หัวข้อประเด็น

- การฝังขุมทรัพย์
- วิธีการเก็บทรัพย์
- ทรัพย์หยาบและทรัพย์ละเอียด
- การสร้างบุญจากการบริจาค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) ต้องรู้จักฝังขุมทรัพย์ 2 วิธี 1 การฝังขุมทรัพย์ หมายถึงอะไร การฝังขุมทรัพย์ในบริบทนี้ หมายถึง การเก็บรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั่นเอง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ 3.1) เก็บเป็นทรัพย์หยาบเอาไว้ใช้ในชีวิตนี้ การเก็บเป็นทรัพย์หยาบนี้แต่ละคนแต่ละ ยุคสมัย ก็ยังมีวิธีเก็บแตกต่างกันออกไปอีก ไม่ว่าใครจะมีปัญญาฉลาดหลักแหลมในการเก็บทรัพย์หยาบ เพียงใด การเก็บวิธีนี้ก็ถือว่าไม่ปลอดภัยนัก และเจ้าของทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์จากการเก็บทรัพย์ด้วยวิธีนี้ น้อยเหลือเกิน กล่าวคือ ในสมัยโบราณ ผู้มีทรัพย์บางคนก็ฝังทรัพย์ไว้ใต้ดินเป็นอย่างดีในที่ลึกจรดน้ำ จึงเป็น เหตุให้ขุมทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไปก็มี บางคนลืมที่ฝังก็มี บางกรณีพวกนาคก็มาเคลื่อนย้ายเอาไปก็มี บางกรณี พวกยักษ์ก็มาลักเอาไปก็มี หรือบางกรณีทายาทเหลือขอก็มาแอบขโมยขุดเอาไปก็มี และที่ร้ายกว่านั้น ก็คือ เมื่อเจ้าของทรัพย์หมดบุญ (หมายถึงบุญที่ทำให้เกิดโภคทรัพย์) ทรัพย์ที่ฝังไว้ทั้งหมดนั้นก็พินาศไปไม่ก่อให้เกิด ประโยชน์อันใด แม้แก่ผู้เป็นเจ้าของเลย สำหรับในสมัยปัจจุบัน ผู้ที่หาทรัพย์มาโดยชอบธรรม ย่อมจะไม่นำไปฝังดังเช่นคนโบราณ (ยกเว้น พวกประกอบอาชีพผิดกฎหมาย) แต่จะมีวิธีเก็บหลากหลายแตกต่างกันไป เช่นบางคนก็นำไปฝาก ธนาคารของรัฐซึ่งมั่นใจว่าปลอดภัยที่สุด แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากับต่างประเทศ ก็ทำให้ค่าของเงินลดลงได้ หรือบางคนนำไปเล่นหุ้น เมื่อราคาหุ้นตกก็อาจถึงสิ้นเนื้อประดาตัวหรือมีหนี้ สินล้นพ้นตัวชนิดไม่คาดฝัน หรือบางคนนำไปซื้อบ้านหรือที่ดินเงินผ่อน ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อออม ทรัพย์อย่างหนึ่งในปัจจุบัน แต่ก็อาจถูกนายทุนโกงไป ซึ่งนอกจากจะทำให้สูญทรัพย์จำนวนมากไปโดย เปล่าประโยชน์แล้ว บางคนยังกลายเป็นลูกหนี้ของธนาคารที่ตนกู้ยืมเงินมาอีกด้วย โดยสรุปก็คือ การเก็บทรัพย์ไว้ในลักษณะที่เป็นทรัพย์หยาบ ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรือ อสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีความจำเป็นและมีประโยชน์ในคราวที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตก็ตาม แต่ก็ไม่รับประกัน ความปลอดภัยนัก และถ้ายิ่งเก็บสะสมไว้มากๆ ในลักษณะที่ตั้งใจเก็บไว้เป็นมรดกของตระกูล เป็นมรดก สำหรับลูกหลาน โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในชีวิตนี้อีก ก็กล่าวได้ว่าทรัพย์นั้นมิได้ ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่เจ้าของทรัพย์นั้นเลย บางกรณีทรัพย์นั้นยังเป็นสาเหตุแห่งการพิฆาตฆ่าฟัน กันระหว่างทายาท ผู้มีส่วนรับมรดกของตระกูลอีกต่างหาก 3.2) เก็บเป็นทรัพย์ละเอียด การเก็บเป็นทรัพย์ละเอียด คือการเปลี่ยนทรัพย์นั้นเป็นบุญ ด้วยการบริจาคเป็นทาน หรือสงเคราะห์บุคคลต่างๆ เป็นต้นว่า การถวายทานแก่สงฆ์ การบริจาคทาน * นิธิภัณฑสูตร ขุ. ขุ. มจร. 25/1-15/17-19 บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณสมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 107
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More