พ่อแม่ผู้ปกครองกับการอบรมลูก GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 151
หน้าที่ 151 / 298

สรุปเนื้อหา

พ่อแม่ต้องเป็นครูที่ดีสำหรับลูก โดยการอบรมสั่งสอนคุณความดีและเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิต หากพ่อแม่มีพฤติกรรมไม่ดี ลูกจะไม่เคารพและไม่ฟังคำสั่งสอน การฟังพระสัทธรรมและการเข้าใจในธรรมะจะช่วยให้ลูกฟังคำสอน มีการตรองเพื่อหาคำตอบ และทำตามคำสั่งสอนได้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ลูกเติบโตขึ้นเป็นคนดีในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การอบรมของพ่อแม่
-ความสำคัญของต้นแบบ
-การฟังพระสัทธรรม
-การตรองคำครู
-การปฏิบัติตามคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสามารถเป็นครูดีของลูกได้ (ไม่ต้องให้ลูกไปแสวงหาที่อื่น) คือ ต้องสามารถอบรมสั่งสอน ชี้แนะคุณความดีด้วยประการทั้งปวงแก่ลูก (ตรงกับคำว่า ธัมมเทสนามัย ในเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 10) ขณะ เดียวกันก็ต้องเป็นต้นแบบแห่งคุณความดีทุกเรื่องทุกอย่างให้แก่ลูก เช่น เมื่อสอนลูกว่าอบายมุขเป็นทาง นำไปสู่ความฉิบหาย พ่อแม่เองก็ต้องไม่เสพสุราเมรัย ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่ หมกมุ่นอยู่กับเรื่องบันเทิงเริงรมย์ ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่เกียจคร้านในการทำงานและการทำมาหากิน แต่ ถ้าพ่อแม่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอบายมุข แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ต้องครบทุกอย่าง คำสั่งสอนของพ่อ แม่ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ลูกจะไม่เคารพเชื่อฟัง แล้วก็จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขในที่สุด 2) ฟังพระสัทธรรม (ตรงกับคำว่า สัทธัมมสวนะ ในบุญกิริยาวัตถุ 10) หมายความว่า “เชื่อฟังคำครู” การที่ศิษย์เชื่อฟังคำสอนของครู ก็เพราะมีความเคารพเทิดทูนครูด้วยใจจริง บุตรธิดาก็ เช่นเดียวกัน จะยอมเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ แล้วนำไปปฏิบัติโดยดี เพราะมีความเคารพเทิดทูนพ่อแม่ เป็นพื้นฐานสำคัญ มิฉะนั้นก็จะไม่สนใจฟังคำสั่งสอนชี้แนะของพ่อแม่ เข้าทำนอง “เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา” นั่นเอง เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองคนใดก็ตามที่ลูกหลานไม่สนใจ หรือไม่นำพาคำสั่งสอนของท่าน ท่านก็ พึง ย้อนพิจารณาตนเองให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะคิดตำหนิติเตียนเด็กๆ ทำอย่างไรบุตรธิดาจึงจะเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ เหตุปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ เคารพและเชื่อฟังคำของพ่อแม่ก็คือ คำสั่งสอนทุกเรื่อง พ่อ แม่ต้องอธิบายให้ลูกเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเหตุผลอันสมควรถูกต้องตามความเป็นจริง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจยาก เพราะเป็นนามธรรม พ่อแม่ก็ต้องรู้จักใช้อุปมาอุปไมยที่ อิงหลักเหตุผลอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้เด็กได้ทราบว่าสิ่งนั้นๆ คือ “อะไร” ไม่ใช่พูดด้วยความเชื่อแบบงมงาย เข้า ทำนองเชื่อตามๆ กันมา หรือเขาเล่าว่า และถ้าเด็กถามเพราะไม่เข้าใจหรือสงสัย แทนที่จะแสดงอาการ หงุดหงิดรำคาญด้วยคิดว่า เด็กมีความคิดนอกคอก พ่อแม่จะต้องตอบคำถามให้ชัดเจนสมควรแก่วัยของเด็ก นี่คือการสนทนาธรรมระหว่างสมาชิกในครอบครัวนั่นเอง 3) โยนิโสมนสิการ หมายความว่า “ตรองคำครู” เมื่อเด็กๆ ได้ฟังคำสอนต่างๆ ไม่ว่าจะ เกี่ยวกับทางโลก หรือทางธรรมก็ตาม ถ้าเด็กนำไปคิดพิจารณาไตร่ตรองก็อาจจะสงสัยว่า “ทำไม” จึงเป็น เช่นนั้น หรือ “ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น” การถามว่า “ทำไม” แสดงว่าเด็กเริ่มรู้จักคิด รู้จักมองปัญหา ดังนั้น ในการสนทนาธรรมระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ถ้าเด็กถามก็อย่าหงุดหงิดรำคาญ ตรงกันข้ามถ้าเด็กไม่ถาม หาเหตุผล ผู้ใหญ่เองเสียอีกจะต้องถามกลับ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเด็ก และเพื่อเป็นการฝึกให้เด็ก “คิดเป็น” และ “มองปัญหาเป็น” การพยายามหาคำตอบของ “ทำไม” ก็คือ ต้นทางของโยนิโสมนสิการ นั่นเอง 4) ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม คือ “ทำตามคำครู” หมายความว่า เมื่อเข้าใจเรื่องที่ได้รับฟัง จน ได้ข้อสรุปด้วยตนเองเรียบร้อยแล้วว่าอะไร และทำไม ก็จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดต่อไป 136 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More