ครูผู้ให้ธรรมทานและวิทยาทาน GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 171
หน้าที่ 171 / 298

สรุปเนื้อหา

การทำหน้าที่ของครูควรเป็นการให้ธรรมทานและวิทยาทานอย่างแท้จริง โดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว การถ่ายทอดความรู้ให้ศิษย์ว่า ศิษย์ควรได้รับการพัฒนาในทุกด้าน ครูต้องปลูกฝังธรรมะและวิทยาศาสตร์ให้มีคุณธรรม การยกย่องศิษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ศิษย์มีความมั่นใจในตนเอง การป้องกันการใช้ความรู้ไปในทางที่ผิดก็เป็นหน้าที่ของครูเช่นกัน การให้ความรู้ที่ถูกต้องสามารถสร้างสังคมที่ดีได้

หัวข้อประเด็น

-ธรรมทาน
-วิทยาทาน
-บทบาทของครู
-การพัฒนาศิษย์
-การยกย่องและรับรองศิษย์
-การป้องกันการใช้ความรู้ผิดวิธี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. ไม่เคยคิดว่า อาชีพครูเป็นการทำ “ธรรมทาน” หรือ “วิทยาทาน” ซึ่งมีอานิสงส์มาก จึง ปฏิบัติหน้าที่ของตนแบบ “ลูกจ้างสอนหนังสือ” คือปฏิบัติหน้าที่ตามเวลา ไม่เคยคิดทุ่มเท พลังกายพลังใจ เพื่อศิษย์ของตน 2. เกรงว่าถ้าศิษย์มีความรู้สึกเท่าครูแล้ว ต่อไปในภายภาคหน้าศิษย์อาจจะเด่นดังกว่าครู อาจ จะวัดรอยเท้าหรือแข่งดีกับครู หรืออาจจะนำความรู้ที่ได้รับไปทำมาหากินได้ร่ำรวยกว่าครู ครูอาจารย์ ประเภทนี้จึงบอกศิลปวิทยาแก่ศิษย์ไม่ทั้งหมด 3. เห็นช่องทางหาประโยชน์จากศิษย์ ครูอาจารย์ประเภทนี้มีความคิดว่า การถ่ายทอดความ รู้แบบเก็บกักขยักไว้ จะเป็นช่องทางหารายได้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ เมื่อศิษย์คนใดต้องการความรู้ให้กว้างขวาง ขึ้น ตนก็จะจัดสอนพิเศษให้ที่บ้าน หรือบอกให้ศิษย์ไปเรียนกับตน ณ สถาบันกวดวิชาที่ตนสังกัดอยู่ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า ครูอาจารย์ประเภทหวงวิชา เป็นบุคคลที่ขาดความจริงใจ ยังมีลักษณะนิสัย เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ย่อมไม่สามารถปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่ศิษย์ของตนได้ เยาวชนที่ได้เป็นศิษย์ของครู อาจารย์ประเภทนี้ ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาจิตใจในอนาคตต่อไปอีก 4) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง การยกย่องศิษย์ควรมีการปฏิบัติอย่างไร การยกย่องศิษย์ให้ปรากฏในเพื่อนฝูงของครูอาจารย์ ก็คือการรับรองคุณธรรม ความรู้ความ สามารถของศิษย์ของตน ให้เพื่อนฝูงของครูอาจารย์ได้รับทราบว่า ศิษย์คนใดมีความเชี่ยวชาญด้านใด มี ความซื่อสัตย์ หรือมีคุณธรรมอะไรอย่างไรบ้าง ในกรณีที่ศิษย์ของตนไปสมัครงานในองค์กรต่างๆ การ ปฏิบัติเพื่อแสดงการยกย่องศิษย์ที่นิยมทำกันในปัจจุบันก็คือ การเขียนหนังสือรับรอง (Recommendation) ให้ หน้าที่ประการที่ 4 ของทิศเบื้องขวานี้ ย่อมให้นัยว่า ครูอาจารย์ทั้งหลายจำเป็นจะต้องปลูก ฝังอบรมบรรดาศิษย์ของตนให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นอย่างดี เพื่อว่าเขาจะเป็นคนดี สมควรที่จะได้รับการยกย่องจากครูอาจารย์ ทั้งนี้เพราะว่าถ้าเขาไม่ดีจริง ความเสียหายก็จะสะท้อนกลับ มาที่ครูอาจารย์อย่างแน่นอน 5) ทำการป้องกันทิศทั้งหลาย ทำการป้องกัน หมายถึงอะไร ความหมายสำคัญของการทำการป้องกันในบริบทนี้ อยู่ที่การป้องกันศิษย์ มิให้นำความรู้จาก ศิลปวิทยาที่ตนได้เล่าเรียนไปใช้ผิดพลาด หรือไปใช้ในทางที่ผิด 1. ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทานแก่ศิษย์ 2 วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ทางโลกเป็นทานแก่ศิษย์ 156 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More