วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 116
หน้าที่ 116 / 298

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอวิธีปฏิบัติที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิต โดยมีการเน้นถึงความสำคัญของอาชีพสุจริตและการขยันทำงาน เพื่อให้สามารถสร้างความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึง 5 อาชีพต้องห้ามที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและสังคม โดยเฉพาะการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น โดยเน้นย้ำว่าความร่ำรวยจากอาชีพต้องห้ามอาจนำไปสู่กรรมชั่วในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-วิธีปฏิบัติในการทำมาหากิน
-อาชีพต้องห้าม
-ความสำคัญของการทำงานสุจริต
-ผลกระทบของการกระทำผิดศีล
-การสร้างเป้าหมายชีวิตที่มีคุณค่า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.2 วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น 4 ประการ 3.2.1 ขยันทำมาหากิน (อุฏฐานสัมปทา) หรือ “หาเป็น” สาระสำคัญของหาเป็น คืออะไร สาระสำคัญของเรื่องนี้อาจแยกอธิบายเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ 1) ต้องไม่ประกอบอาชีพต้องห้าม อาชีพต้องห้ามในบริบทนี้ หมายถึงอาชีพค้าขาย ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ใน วณิชชาสูตร 1 ว่า อาชีพนี้อุบาสก (ฆราวาส) ไม่ควรประกอบ มีอยู่ 5 ประการคือ 1.1) การค้าขายศัสตรา สาเหตุที่ห้ามก็เพราะการค้าขายอาวุธเป็นเหตุให้บุคคลอาจนำ อาวุธไปก่อโทษภัยแก่ตนและผู้อื่นได้ 1.2) การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึง การค้าขายมนุษย์ เหตุที่ห้ามค้าขายก็เพราะเป็นการ ทำให้มนุษย์หมดอิสรภาพ ตกสู่สภาพสัตว์เดียรัจฉานทั้งเป็น 1.3) การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ เหตุ ที่ห้ามค้าขายก็เพราะการค้าขายเนื้อ เป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ 1.4) การค้าขายของมึนเมา เหตุที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้ มีการดื่ม หรือการเสพ แล้วเกิดความประมาท 1.5) การค้าขายยาพิษ เหตุที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายยาพิษย่อมเป็นเหตุให้เกิด อันตรายอย่างกว้างขวางแก่ชีวิตคน และสัตว์ทั้งปวง จากอาชีพต้องห้ามทั้ง 5 ประการนี้ นักศึกษาย่อมเห็นได้เองว่า ใครก็ตามที่ประกอบอาชีพ ต้องห้ามเหล่านี้ แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดปัญหา เดือดร้อนยุ่งยากขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวาง ที่สำคัญก็คือ บางอย่าง ผู้ค้าขายก็ต้องทำผิดศีลโดยตรง บางอย่าง ผู้ค้าขายก็เป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นทำผิดศีล ผู้ประกอบอาชีพต้องห้าม อาจจะมีโอกาสมั่งคั่งร่ำรวยในชาตินี้ แต่อาชีพของเขาก็ถือว่าเป็น กรรมชั่ว ถ้าเขายังไม่ประสบวิบากของกรรมชั่วในโลกนี้ เขาก็จะต้องประสบในโลกหน้าอย่างไม่มีทางเลี่ยง นั่นคือการไปบังเกิดในอบายภูมิ เพื่อรับโทษทัณฑ์เป็นเวลานานนับด้วยแสนด้วยล้านปี 2) ต้องประกอบอาชีพสุจริตด้วยความขยันหมั่นเพียร อาชีพสุจริตหมายถึง อาชีพอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่อาชีพต้องห้าม แต่ก็ต้องดำเนินไปโดยสุจริต ต้องไม่มีการกระทำทุจริตด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การคดโกง หลอกลวง ปลอมแปลง เป็นต้น เพราะการกระทำทุจริตย่อมเป็นการผิดศีล เป็นกรรมชั่ว ขณะเดียวกัน * อัง, อัฏฐก. มจร. 23/54/340 บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณสมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 101
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More