แนวทางการปฏิรูปตนเองและสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 194
หน้าที่ 194 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเน้นการปฏิรูปตนเองและการฝึกฝนธรรม 4 ประการ คือ การให้, เจรจาไพเราะ, บำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน และความวางตนสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเป็นมิตรและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมที่เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงปัญหาทางจิตใจและพฤติกรรม เช่น ปัญหายาเสพติดและความรุนแรงในวัยรุ่น ทั้งนี้ การมีความเข้าใจในอริยวินัยสามารถช่วยในการป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ www.dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การปฏิรูปตนเอง
-ปัญหาสังคม
-สังคหวัตถุธรรม
-การให้
-เจรจาไพเราะ
-บำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน
-ความวางตนสม่ำเสมอ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. มนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ มีอกุศลมูล ติดตัวมาแต่กำเนิด แม้แต่ชีวิต ในวัยเด็กก็สามารถแสดงพฤติกรรมเลวร้ายได้ ถ้าไม่มีใครคอยห้ามปราม สั่งสอนอบรมก็จะคุ้น เคยเป็นนิสัยติดมาในวัยผู้ใหญ่ได้ และสิ่งแรกที่ต้องทำคือ การปฏิรูปตนเอง โดยมีกัลยาณมิตร เป็น ผู้ชี้แนะและคอยให้กำลังใจ 2. ปัญหาสังคมที่ยังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ บางปัญหาก็ได้รับการแก้ไข บางปัญหาก็ยังไม่ สามารถแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจิตใจและพฤติกรรมของคน เช่น ปัญหาเยาวชนตีกัน การ ประหัตประหารกัน การลักลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ เกิดมา จากคนบางกลุ่มในสังคม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ได้ทำหน้าที่ของทิศ 6 ล้มเหลว เพราะไม่ได้ปฏิบัติ ตามอริยวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ และแม้จะทำตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ก็ตาม แต่ขาดศิลปะในการครองใจคน 3. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สังคหวัตถุธรรม ให้พุทธบริษัทยึดถือปฏิบัติเพื่อฝึกตนให้ เป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ มีศีลปะในการครองใจคน ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ คือ 3.1 การให้ ( ทาน ) เป็นการแบ่งปันสิ่งของด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยความจริงใจ โดยมิได้หวังผลตอบแทนใด ๆ และสิ่งที่ให้นั้น เป็นสิ่งที่ดี ไม่มีโทษภัย ทำให้ผู้รับก็ดีใจ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมการแสดงความมีน้ำใจ และปรารถนาดีต่อกัน 3.2 เจรจาไพเราะ ( ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ ) เป็นการใช้คำพูดเพื่อให้เป็นคนน่ารัก เช่น พูดสุภาพอ่อนน้อม เป็นคำจริง มีประโยชน์ มีความปรารถนาดี ถูกกาลเทศะ เกิดกำลังใจเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้มาจากความคิดที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ทำให้เป็นคน อารมณ์ดี แล้วเวลาพูดก็พูดเพราะไปด้วย 3.3 การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ( อัตถจริยา ) เป็นการชี้แนะด้วยคำพูดและการกระทำ ที่เป็นประโยชน์ และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นการส่งเสริมศิลปะการ ครองใจคน 2 ข้อแรก คือ การให้และการเจรจาไพเราะอีกด้วย 3.4 ความวางตนสม่ำเสมอ ( สมานัตตตา ) เป็นการทำตัวให้เป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ สามารถทำด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 179
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More