กฎแห่งกรรมในพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 39
หน้าที่ 39 / 298

สรุปเนื้อหา

ธรรมภาษิตระบุว่าผู้ทำกรรมจะต้องเจอผลของกรรมที่ตนเองก่อ โดยมีหลักการที่ชัดเจนว่าทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว แม้บางคนอาจเห็นความไม่สมดุลในโลกนี้ เช่น คนดีเผชิญโชคร้าย หรือคนชั่วยังมีความสุข แต่นี่คือความซับซ้อนของกรรมที่เกิดจากการกระทำหลายๆ อย่างที่มีผลผสมกันตามตลอดชีวิต การเห็นกรรมจึงไม่ใช่เหตุการณ์เดียวแต่เกิดจากการทำกรรมในอดีต ซึ่งกฎแห่งกรรมยังคงเป็นกฎที่เที่ยงธรรมที่สุดในพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ผลกรรมดีและชั่ว
-ความซับซ้อนของกรรม
-ศีลธรรมในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม เหล่านั้นในตน ผู้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น” ธรรมภาษิตนี้ มีสาระสำคัญอยู่ 4 ประเด็น คือ 1) ผู้ทำกรรมอย่างใดไม่ว่าดีหรือชั่ว ตนจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นเองอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าตนต้องประสบกับความเดือดร้อนใดๆ ก็ให้รู้เถิดว่า ปัญหาหรือความเดือดร้อนนั้น เนื่องมาจากเหตุชั่วที่ ตนเป็นผู้ก่อขึ้นแล้วเอง อย่าได้หลงโทษใครๆ 2) ผู้ทำดี จะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน 3) ผู้ทำชั่ว จะต้องได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน 4) ผลของกรรมเปรียบได้กับการออกผลของพืช กล่าวคือ เมื่อปลูกพืชชนิดใด ก็จะได้เก็บ เกี่ยวผลอันเป็นผลิตผลของพืชชนิดนั้น เช่น ปลูกกล้วย ผลที่จะได้เก็บเกี่ยวก็คือกล้วย มิใช่ ผลไม้อย่างอื่น ข้อนี้เป็นการยืนยันสนับสนุน ข้อ 2 และ 3 อย่าง ชัดเจน การเกิดผลของกรรมทั้งดีและชั่ว มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวเช่นนี้ ท่านจึงเรียก“กฎแห่ง กรรม” ว่าเป็นกฎเหล็กที่เที่ยงธรรมที่สุด โดยไม่ต้องมีการตีความใดๆ ทั้งสิ้น ทำไมบางคนจึงสงสัย หรือไม่เชื่อกฎแห่งกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมักปรากฏให้เห็นอยู่เสมอว่าผู้คนจำนวนไม่น้อยซึ่งเป็นที่รู้กันดีในสังคมว่า พวกเขาทำผิดศีล ผิดกฎหมายอยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่ถูกลงโทษทัณฑ์แต่ประการใด ยังคงลอยนวลอยู่ในสังคม มีความสะดวกสบาย มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย บางคนก็มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตในวงราชการ หรือการเมือง บางคนก็มีอำนาจอิทธิพลเป็นเจ้าพ่อธุรกิจเถื่อนต่างๆ ในทางกลับกันคนดีบางคน ซึ่งไม่เคยทำผิดศีล ผิดกฎหมาย กลับประสบโชคร้ายต่างๆ เช่น บางคนก็ประสบภัยอันตรายทางธรรมชาติ บางคนก็ถูกใส่ร้าย ป้ายสี บางคนก็ถูกฆาตกรรม ฯลฯ สภาพการณ์เหล่านี้ทำให้ผู้คนไม่น้อยสงสัย และไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ทำไมการออกผลของกรรม จึงไม่เป็นไปตามพุทธดำรัส มีความจริงที่ต้องยืนยันไว้ ณ ที่นี้ก็คือ การออกผลของกรรมเป็นไปตามพุทธดำรัส โดยไม่มี ข้อยกเว้น คือ ทำดีต้องได้ดีจริง ทำชั่วต้องได้ชั่วจริง แต่การออกผลของกรรมของแต่ละคนมีความสลับซับ ช้อนมาก จึงดูเหมือนไม่เป็นไปตามพุทธดำรัส ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละคนเคยทำทั้งกรรมดี และกรรมชั่วปะปน กันไปในแต่ละวัน ประการหนึ่ง กับการทำกรรมทั้งดีและชั่วของคนเรานั้นมิได้ทำกันเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ ทำกันบ่อยๆ อีกประการหนึ่ง ดังนั้นการออกผลของกรรม จึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของแรงกรรมแต่ละฝ่ายที่ ชิงโอกาสให้ผลกันอยู่ 24 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More