ความเชื่อในกรรมและโลกหน้า GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 48
หน้าที่ 48 / 298

สรุปเนื้อหา

บุคคลที่มีความเชื่อมั่นในกรรมข้ามชาติจะมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนขณะที่ผู้ที่ไม่เชื่อจะทำกรรมชั่วได้อย่างไม่เกรงกลัวเรื่องผลกรรม ส่วนคำว่า 'โลกหน้า' หมายถึงชีวิตหลังความตายและสถานที่ที่มีชีวิตหลังความตาย เผ่าความเชื่อในปรโลกมีสองแบบคือ สุคติและทุคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมที่เราทำไว้ ผู้ที่มีกรรมดีจะได้รับชีวิตที่ดีในปรโลก

หัวข้อประเด็น

-ความเห็นถูกและผิดในกรรม
-โลกหน้าและความหมาย
-ชีวิตหลังความตาย
-กรรมและผลกรรมในชาติหน้า
-สุคติและทุคติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุคคลที่สภาพใจของเขากอปรด้วยศรัทธามั่นในเรื่องผลกรรมข้ามชาติเช่นนี้ชื่อว่า มีความ เห็นถูกเป็น “สัมมาทิฏฐิ” เขาย่อมเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ ของตนเองอย่าง เคร่งครัด และมั่นคงในธรรม ในทางกลับกัน บุคคลที่ใจมืดมิดด้วยอำนาจกิเลส ไม่เชื่อเรื่องผลกรรมข้ามชาติ เพราะเชื่อว่า ตายแล้วสูญหมด จึงไม่เชื่อ เรื่องบุญและบาป ไม่อายและไม่กลัวบาป จึงทำกรรมชั่วได้ทุกอย่างโดยไม่กลัว ผิดศีล แม้ผิดกฎหมาย ก็ยอมเสี่ยงคุกตะราง บุคคลที่สภาพใจของเขาปฏิเสธเรื่องผลกรรมข้ามชาติเช่น นี้ ชื่อว่ามีความเห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” 1.3.6 ความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “โลกหน้า” โลกหน้า หมายถึงอะไร คำว่า “โลกหน้า” มีความหมาย 2 ประการ คือ 1) ชีวิตหลังความตาย 2) สถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย 1) ชีวิตหลังความตาย หมายความว่า คนเรารวมทั้งสัตวโลกทั้งปวง เมื่อตายแล้ว ไม่สูญหมด จะสูญสิ้นก็เฉพาะร่างกายซึ่งถูกเผาหรือถูกฝังลงดินเท่านั้น ส่วนใจยังคงอยู่ในกายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เคลื่อนออกมาจากกายมนุษย์หยาบในขณะที่คนเรากำลังจะสิ้นชีวิตนั่นเอง ตราบใดที่ใจยังมีกิเลสอยู่ก็จะ ต้องไปบังเกิดมีชีวิตใหม่ในภพภูมิใหม่ ซึ่งมีศัพท์ทางธรรมว่า “ปรโลก” หรือ “ปรภพ” ต่อไปอีก ดังนั้นชีวิต หลังความตายจึงมีอีกอย่างแน่นอน ชีวิตในปรโลกของคนเราจะเป็นอย่างไร จากเรื่องกฎแห่งกรรม เราได้ทราบแล้วว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด เพราะฉะนั้นชีวิตในปรโลกของคนเราจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่ กับกรรมที่เรา ทำไว้ในชาตินี้นั่นเอง ดังที่มีสำนวนชาวบ้านว่า “กรรมใครกรรมมัน” ซึ่งแต่ละคนคงพอจะคาดคะเนได้ว่า ชีวิตหลังความตายของตนจะสุข หรือทุกข์อย่างไร ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า คติหรือแนวทางในปรโลกของสัตวโลกทั้งหลาย มีอยู่ 2 คติ คือ “สุคติ” กับ “ทุคติ” “สุคติ” หมายถึงสถานที่ที่ไปเกิดหรือแบบการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ได้แก่ 1) มนุษยโลก (โลก- มนุษย์) 2) เทวโลก (โลกสวรรค์) 3) พรหมโลก (โลกของพระพรหม) บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์ DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More