ข้อความต้นฉบับในหน้า
อนึ่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์ผู้ตั้งใจบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนา หากไม่ได้รับการสงเคราะห์จาก
ญาติโยม ท่านก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในสมณเพศได้ จำต้องสึกหาลาเพศออกไปประกอบอาชีพดังเช่น
ฆราวาสโดยทั่วไป ถ้าขาดศาสนทายาท เสียแล้ว พระพุทธศาสนาย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
สังคมใดที่ขาดธรรมะในพระศาสนาเป็นเครื่องพัฒนาจิตใจ แน่นอนเหลือเกินว่าผู้คนในสังคม
นั้นจะมีพฤติกรรมเบียดเบียนกันด้วยเรื่องต่างๆ มากมาย ที่สำคัญก็คือต่างแย่งกันกิน แย่งกันอยู่ แย่งกันใช้
ถ้าเป็นเช่นนี้ สังคมจะมีสันติสุขได้อย่างไร
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการทำสังคมสงเคราะห์ ก็เพื่อให้ความช่วย
เหลือประคับประคองผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ
1) เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแก่อัตภาพ
2) เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสมีโอกาสได้รับการศึกษาอบรมทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นการ
พัฒนาให้เขาเหล่านั้นเป็นพลเมืองดีของชาติ
3) เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ตนกำลังเผชิญอยู่ได้สำเร็จ
ส่วนวัตถุประสงค์สำคัญของการทำศาสนสงเคราะห์ ก็เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้
วัฒนาถาวรสืบไป เพื่อว่าพระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบจะได้มีโอกาสทำหน้าที่ปลูกฝังสัมมาทิฏฐิลงในใจ
ของผู้คนในสังคมโดยง่ายอย่างกว้างขวาง และ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย
ทำไมบางคนจึงไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์
ผู้ที่ไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์ ทั้งๆ ที่ตนก็อยู่ในฐานะที่จะทำได้โดยไม่เดือดร้อนนั้น แต่ละคน
อาจมีความเห็นแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) บางพวกเห็นว่าเรื่องสังคมสงเคราะห์เป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐ บุคคลกลุ่มนี้คิดว่า
ตนเองเสียภาษีให้แก่รัฐแล้ว ดังนั้นรัฐจึงต้องจัดสรรเงินภาษีไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ไม่ใช่หน้าที่ของ
พวกเขาที่จะต้องตามไปสงเคราะห์ใครๆ
2) บางพวกเห็นว่าผู้คนที่ขัดสนยากไร้ ก็เพราะเกียจคร้าน จึงเห็นว่าการให้การสงเคราะห์
ผู้คนเหล่านี้ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมพวกเขาให้เกียจคร้านในการทำมาหากินยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้คนในกลุ่มนี้
จึงไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์
3) บางพวกมีความตระหนี่ถี่เหนียวมาก บุคคลในกลุ่มนี้มีความคิดว่า การที่ตนมั่งมีทรัพย์สิน
เงินทอง ก็เพราะรู้จักเก็บหอมรอมริบมาเป็นเวลานาน ถ้าจะบริจาคเงินสงเคราะห์ผู้อื่นก็จะทำให้ทรัพย์สิน
ของตนพร่องลงไป บางคนยังคิดด้วยความรอบคอบ แต่คับแคบต่อไปอีกว่า ถ้าตนบริจาคทรัพย์สินเงินทอง
14 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก