การส่งเสริมการทำบุญและจิตภาวนาในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 185
หน้าที่ 185 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงวิธีการที่พระสงฆ์สามารถชี้นำญาติโยมสู่การทำบุญ รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างเครือข่ายในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและความเข้าใจในเรื่องบาปบุญ คุณโทษ ผลลัพธ์ที่ได้คือการพัฒนาศรัทธาและความมุ่งมั่นในการสร้างบุญกุศลต่อไป อีกทั้งยังเน้นถึงความสำคัญของการรับรู้และปฏิบัติตามหลักของไตรลักษณ์ในการดำเนินชีวิตภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่.

หัวข้อประเด็น

-การทำบุญ
-การรักษาศีล
-สมาธิภาวนา
-บทบาทของพระสงฆ์
-การพัฒนาสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สามารถชักจูงน้อมนำญาติโยมให้เกิดความสนใจทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ ประสบการณ์ จากการปฏิบัติสมถภาวนา ในระดับทำใจหยุดใจนิ่งได้สนิท ถึงขั้นเกิดความสว่างที่กลางใจในระดับหนึ่ง แม้ยังไม่ถึงขั้นเห็นนรกสวรรค์ เพียงเท่านี้ญาติโยมผู้ปฏิบัติก็จะเกิดศรัทธาที่จะแสวงหาประสบการณ์ภายใน ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันก็จะเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องบาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์ และ มิใช่ประโยชน์อย่างแท้จริง นั่นคือ สัมมาทิฏฐิได้เข้าไปอยู่ในใจของญาติโยมผู้มีศรัทธาแล้ว พร้อมกันนี้หิริ โอตตัปปะ และโยนิโสมนสิการของเขา ก็จะมั่นคงและงอกงามยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความคิดมุ่งมั่นที่จะสร้างแต่ บุญกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก และพยายามหลีกเลี่ยงการทำบาปอกุศล แม้เพียงน้อยนิด เพียงเท่านี้ก็ถือได้ว่า พระภิกษุได้ทำหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพในการบอกทางสวรรค์ให้แก่ญาติโยมแล้ว อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ 1 ดังนั้น สัมมาทิฏฐิที่เข้าไปอยู่ในใจบุคคลบางคนอย่างมั่นคงแล้ว ก็อาจจะโยกคลอนถึงขั้นฟัง ทลายออกจากใจไปได้ เมื่อถูกกระทบด้วยกระแสกิเลสอันเชี่ยวกรากในยุคโลกาภิวัตน์นี้ เพราะฉะนั้นเพื่อ เป็นการเสริมพลังสัมมาทิฏฐิของญาติโยมให้มั่นคงแข็งแกร่งตลอดไป พระภิกษุสงฆ์จะวางมือในการทำ หน้าที่ทิศเบื้องบนไม่ได้เลย สงฆ์จะต้องทำอย่างไร สัมมาทิฏฐิในใจของผู้คนจึงจะมั่นคงตลอดไป สิ่งที่สงฆ์จะต้องทำมิใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ชี้นำประชาชน ให้ปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในกรอบของ ทาน ศีล ภาวนา เป็นกิจวัตรประจำวัน การที่จะทำให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปได้อย่างกว้างขวาง ก็จำเป็นจะต้องเฟ้นหาคนดีใน ชุมชนมาร่วมกันสร้างเครือข่าย ชักชวนผู้คนในชุมชนให้มาร่วมทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ส่วนสถานที่สำหรับทำกิจกรรมก็อาจหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็น บ้าน วัด โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ทำงานขององค์กรบางแห่ง ที่ยินดีให้ความร่วมมือ แต่ไม่ว่าจะร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นที่ไหน พระสงฆ์จะต้องเป็นผู้นำเสมอ โดยสรุปก็คือ ในสภาพสังคมปัจจุบัน การปฏิบัติหน้าที่ของสงฆ์ในฐานะที่เป็นทิศเบื้องบนนั้น จะ ต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติการในเชิงรุก มิใช่ปฏิบัติหน้าที่แบบตั้งรับอยู่ที่วัดประการเดียว ส่วนราย ละเอียด ในการปฏิบัติการนั้น เป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องคิดวางแผนอย่างรอบคอบ และบริหารจัดการให้ เหมาะสมกับชุมชนที่วัดของตนตั้งอยู่ 1 ไตรลักษณ์ประกอบด้วย 1) ความไม่เที่ยง (อนิจฺจตา) 2) ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้ (ทุกขตา) 3) ความมิใช่ตัวตน (อนตฺตตา) 170 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More