บทบาทของสงฆ์ในสังคมและการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 216
หน้าที่ 216 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทของสงฆ์ในสังคมที่ต้องเป็นผู้นำทางจิตใจและปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้กับญาติโยมอย่างมั่นคงถาวร โดยมีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เพื่อสร้างสันติสุขและนำไปสู่สุคติโลกสวรรค์ นอกจากนี้ยังพูดถึงหน้าที่ของคฤหัสถ์ในการอุปถัมภ์สมณะและการศึกษาจากพระธรรมเทศนา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีและความรับผิดชอบในสังคม ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้คนมีสติและสามารถดำรงตนในฐานะที่เป็นคนได้อย่างเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของสงฆ์
-สัมมาทิฏฐิ
-การอุปถัมภ์สมณะ
-การบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
-หน้าที่ของคฤหัสถ์
-สันติสุขในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สงฆ์มีหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตใจของผู้คนในสังคม เพราะฉะนั้นสงฆ์ก็ต้องทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ปลูกฝัง สัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจของญาติโยมอย่างมั่นคงถาวร ด้วยการชี้นำให้เกิดความเข้าใจ พร้อมทั้งนำไป ปฏิบัติเป็นกิจวัตร มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา รวมทั้งสังคหวัตถุธรรม เป็นสำคัญ การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่ญาติโยม นอกจากจะเห็นผลทันตาในโลกนี้ คือก่อให้เกิดสันติสุข ขึ้นในสังคมของญาติ โยมในปัจจุบันชาติแล้ว ยังจะเป็นทางนำญาติโยมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ หลังจากที่ละ โลกนี้ไปแล้วอีกด้วย เพราะฉะนั้น สมณะจะต้องไม่บอกทางผิดให้แก่ญาติโยม ด้วยการชี้แนะดิรัจฉานวิชา หรือ ธรรมดำทั้งหลายอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ทั้งผู้บอกและผู้ฟังต้องไปสู่ทางตรงข้ามกับสวรรค์ ถ้าตัวเราอยู่ในฐานะคฤหัสถ์ก็ต้องทำตัวให้สมกับฐานะที่เป็นคฤหัสถ์ หน้าที่อย่างหนึ่งใน 5 อย่าง ที่คฤหัสถ์จะต้องปฏิบัติ ต่อสมณะ ก็คือ อุปถัมภ์สมณะด้วยปัจจัย 4 การทำหน้าที่ของเราก็ต้องทำด้วยจิต เมตตาต่อสมณะ นับตั้งแต่การคิด การพูด การกระทำ รวมไปถึงการต้อนรับเมื่อสมณะมาถึงบ้านของเรา การที่คฤหัสถ์จะสามารถทำหน้าที่อุปถัมภ์สมณะให้สมบูรณ์ ครบถ้วนได้ คฤหัสถ์ก็จำเป็นต้อง เข้าวัด เพื่อศึกษาจากพระธรรมเทศนาของสงฆ์ แล้วนำความรู้นั้นมาประพฤติปฏิบัติ ทั้งขณะที่อยู่ในวัด และนอกวัด ถ้าแต่ละคนในแวดวงของทิศ 6 สามารถวางตนให้สมกับฐานะได้อย่างไม่บกพร่องแล้ว ย่อม สามารถวางตนให้สมกับภาวะ (ความมี ความเป็น) บุคคล และสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง ด้วย 3) ทำตนให้สมกับที่เป็นคน ทำตนให้สมกับที่เป็นคน มีความหมายอย่างไร การทำตนให้สมกับที่เป็นคน ก็คือ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดีที่โลกต้องการนั่นเอง จากที่ผ่านมา ได้กล่าวหลายครั้งแล้วว่า คนดีที่โลกต้องการ จะต้องมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ อย่างมั่นคงถาวร ธรรมะหมวดนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดของความสำนึกรับผิดชอบต่างๆ ของคนเรา ที่สำคัญมี อยู่ 4 ประการดังกล่าวแล้ว ขณะเดียวกันก็จะมีธรรมะอีก 2 ประการเกิดขึ้นด้วย คือ โยนิโสมนสิการ และ หิริโอตตัปปะ (ความอายและกลัวบาป) บุคคลประเภทนี้ย่อมมีสติ สัมปชัญญะพร้อมบริบูรณ์ สามารถ ดำรงตนให้สมกับเป็นคนได้ตลอดเวลา บุคคลใดก็ตาม ที่สามารถทำตนเสมอต้นเสมอปลาย 1 วางตนเหมาะสมกับฐานะ ภาวะ บุคคล และสถานการณ์ 1 และทำตนให้สมกับที่เป็นคน 1 ย่อมเป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ น่าคบหาสมาคมตลอด เวลา บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของ ทิศ 6 DOU 201
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More