ข้อความต้นฉบับในหน้า
กัลยาณมิตรบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงใคร่ขอกล่าวถึงคุณประโยชน์ของเครือข่ายกัลยาณมิตร
ที่มีต่อตัวเราและสังคม ดังนี้
1. มีเครือข่ายคนดีเป็นรั้วบ้าน ถ้าผู้คนในหมู่บ้านหรือชุมชนของเราเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิ
ก็เท่ากับเรามีรั้วบ้านที่จะคุ้มครองป้องกันบ้านของเราให้ปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง เช่น ไม่ต้องกลัวโจร
เข้ามาลักขโมยทรัพย์สมบัติในบ้านไม่ต้องวิตกกังวลว่าบุตรธิดาของเราจะตกเป็นเหยื่อของผู้ค้ายาเสพติดและ
อบายมุขต่างๆ ไม่ต้องวิตกกังวลว่าลูกสาว หรือภรรยาของเรา จะถูกเดนมนุษย์ ฉุดคร่าไปข่มขืนกระทำชำเรา
ไม่ต้องวิตกกังวล ว่าลูกชาย หรือสามีของเราจะถูกยิงเผาขน ด้วยเรื่องขัดแย้งต่างๆ เป็นต้น
2. เป็นโอกาสดีแห่งการบรรลุเป้าหมายชีวิต การมีชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่มีผู้คน
เป็นเครือข่ายกัลยาณมิตร ก็เท่ากับว่าอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม เพราะแวดล้อมไปด้วยคนประเภทสองตา ย่อม
เกื้อกูลการทำมาหากินของเราให้ประสบผลสำเร็จได้ โดยไม่ยากเกินไป ขณะเดียวกันก็มีบรรยากาศที่
อำนวยให้เราได้สั่งสมบุญบารมี ซึ่งจะเกื้อกูลให้เราสามารถปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิต ทั้งระดับต้น
และระดับกลางได้อย่างแน่นอน
3. คนดีคือขุมทรัพย์ที่เปี่ยมด้วยความเอื้ออาทร บุคคลที่ชื่อว่าเป็นคนดี หรือกัลยาณมิตรก็
เพราะสร้างแต่กรรมดี คือบุญ ทั้งในอดีตและปัจจุบันไว้มาก จึงกล่าวได้ว่าคนดีเป็นคนมีบุญ คนมีบุญแต่ละ
คนย่อมมีทั้งโลกียทรัพย์ และอริยทรัพย์' (คนที่มีโลกียทรัพย์ แต่ไม่มีอริยทรัพย์ไม่เรียกว่าคนดี หรือคนมีบุญ
แต่ เรียกว่าคนตาเดียว)
โลกียทรัพย์ของคนมีบุญก็คือ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ที่เขาครอบครองอยู่ ส่วน
อริยทรัพย์ก็คือคุณธรรมประจำตัวตลอดจนนิสัยดีๆ ของเขา เช่น สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จากสัมปทา และ
ปัญญาสัมปทา เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การคบคนดี ย่อมเป็นการเก็บทรัพย์ไว้ในรูปแบบหนึ่ง ยามใดที่เรามีปัญหาเดือด
ร้อนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เขาก็เป็นที่พึ่งให้เราได้ ทั้งด้านโลกียทรัพย์ และอริยทรัพย์
ส่วนการสร้างเครือข่ายคนดี ย่อมเป็นการสร้างขุมทรัพย์ ขนาดมหึมาขึ้นในหมู่บ้านชุมชนหรือ
สังคม ดังนั้น ชุมชนใดที่มีเครือข่ายกัลยาณมิตร ก็เท่ากับมีขุมทรัพย์เคลื่อนที่ขนาดมหึมา ประจำชุมชน
แม้ขุมทรัพย์นี้จะไม่เป็นสาธารณะ ดังเช่นหนองน้ำหรือบึงใหญ่ที่ผู้คนทุกคนจะสามารถใช้อาบ
กินได้โดยไม่จำกัดก็ตามแต่ขุมทรัพย์นี้อาจจะเอื้อประโยชน์ได้มากกว่าบึงใหญ่เสียอีกผู้คนในชุมชนจึงไม่ยากจน
ไม่เดือดร้อน เพราะอะไร เพราะตนเองก็ชื่อว่าเป็นขุมทรัพย์ของตนเอง และถ้ามีปัญหาเหลือบ่ากว่าแรง
ขุมทรัพย์ของตนเองยังไม่มากพอที่จะใช้แก้ไขปัญหาได้ ก็สามารถหันไปพึ่งพาขุมทรัพย์ใหญ่ที่เต็มไปด้วย
* อริยทรัพย์ คือคุณธรรมอันประเสริฐในจิตใจของคนดี มีอยู่ 7 ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้
คงแก่เรียน) จาคะ และปัญญา อริยทรัพย์ 7 ประการนี้ เป็นทรัพย์อันประเสริฐที่นำความชื่นใจมาให้ทุกเมื่อเป็นทรัพย์ที่ใช้ไม่รู้จักหมด
เป็นทรัพย์ที่ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม เป็นทรัพย์ที่ใครปล้นไม่ได้ ทำลายไม่ได้ และเป็นทรัพย์ที่เก็บข้ามชาติได้
บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณ สมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 113