กรรมกิเลส 4: ความหมายและพฤติกรรม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 82
หน้าที่ 82 / 298

สรุปเนื้อหา

กรรมกิเลส 4 หมายถึงการกระทำ 4 ประการ ได้แก่ ปาณาติบาต (การฆ่า), อทินนาทาน (การลักขโมย), กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดทางเพศ) และมุสาวาท (การพูดเท็จ) ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับเจตนาและอำนาจกิเลส 3 ตระกูล ได้แก่ โลภะ, โทสะ และโมหะ เมื่อเกิดความโลภ, โทสะ หรือความหลง ก็อาจส่งผลให้ทำกรรมกิเลสได้ ในทางตรงกันข้าม คนที่มีสัมมาทิฎฐิจะสามารถควบคุมกิเลสได้อย่างเหมาะสม และเสริมสร้างคุณสมบัติที่ดีของมนุษย์ในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกรรมกิเลส
-พฤติกรรมทั้ง 4 ประการ
-อิทธิพลของกิเลสต่อการกระทำ
-ความสำคัญของสัมมาทิฎฐิ
-คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กรรมกิเลส 4 หมายถึงอะไร กรรมกิเลส 4 หมายถึง การกระทำ 4 ประการต่อไปนี้ คือ 1) ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่า ปลดปลงชีวิต การประทุษร้ายกัน การเบียดเบียนกัน ทางกายด้วยวิธีการต่างๆ ฯลฯ 2) อทินนาทาน หมายถึง การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ การลักขโมย จี้ปล้น คดโกง ละเมิด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน ตลอดจนการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น ฯลฯ 3) กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การประพฤติผิดทางเพศ การล่วงละเมิดบุคคลที่ผู้อื่นรัก ใคร่หวงแหน การประพฤติสำส่อนทางเพศ ฯลฯ 4) มุสาวาท หมายถึง การพูดเท็จ หลอกลวง ปั้นน้ำเป็นตัว ฯลฯ ทำไมจึงเรียกพฤติกรรมทั้ง 4 ประการนี้ว่า “กรรมกิเลส” คำว่า “กรรมกิเลส” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ “กรรม” กับ “กิเลส” คำว่า “กรรม” หมายถึง การกระทำโดยเจตนา ดังได้กล่าว แล้วในบทที่ 1 คำว่า “กิเลส” หมายถึง ความชั่วร้าย หรือโรคร้ายทางใจ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ตระกูล คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งแอบแฝงอยู่ในใจคนเรามาแต่กำเนิด อันเป็นเหตุให้คนเราแสดงพฤติกรรมเลวร้ายต่างๆ ดังนั้นคำว่า “กรรมกิเลส” จึงหมายถึงการกระทำโดยเจตนาของคนที่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส เช่น เมื่อเกิดความโลภ ก็คิดเอาเปรียบแล้วลงมือคดโกงผู้อื่นได้ เมื่อบันดาลโทสะก็ถึงกับทำร้ายผู้อื่นได้ ฆ่าผู้อื่น ได้ เมื่อเกิดความหลง ก็แสดงพฤติกรรมชั่วร้ายได้หลากหลายรูปแบบ แม้แต่ทำร้ายตนเอง ฆ่าตนเอง หรือ เมื่อกิเลสทั้ง 3 ตระกูลออกฤทธิ์พร้อมๆ กัน คนเราก็อาจทำกรรมกิเลสได้ครบทั้ง 4 ข้อ เพราะเหตุนี้พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเรียก พฤติกรรมทั้ง 4 ประการดังกล่าวว่า “กรรมกิเลส” 1 ใครก็ตามที่ทำกรรมกิเลสข้อใดข้อหนึ่ง หรือครบทั้ง 4 ข้อ ก็เพราะมิจฉาทิฏฐิที่แฝงอยู่ในใจ ได้กำเริบออกมาครอบงำใจของเขา แล้วบีบคั้นจิตใจของเขาให้แสดงพฤติกรรมที่ไร้ศักดิ์และศรีแห่งความ เป็นมนุษย์ มีพฤติกรรมเยี่ยงดิรัจฉาน ส่วนผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิมั่นอยู่ในใจเป็นลักษณะนิสัย ย่อมมีความสำนึก รับผิดชอบในศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตน จึงสามารถระมัดระวังควบคุมใจ และกิเลสในใจ ทั้ง 3 ตระกูลของตนเอาไว้ได้ ทำให้เว้นขาดจากกรรมกิเลส 4 ประการได้โดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความ สำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเสมอ ด้วยการไม่ประพฤติ กรรมกิเลส 4 อย่างเด็ดขาด นี่คือความรับผิดชอบประการแรก และเป็นคุณสมบัติข้อแรกของคนดีที่โลกต้องการ - สิงคาลกสูตร ที.ปา มก. 16/179-184/80-81 บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 67
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More