ความสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลที่แวดล้อมตัวเราและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 99
หน้าที่ 99 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลที่แวดล้อมตัวเรา ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พ่อแม่ ครู ภรรยาและบุตร ญาติสนิท ผู้ใต้บังคับบัญชา และสมณพราหมณ์ การมีความรับผิดชอบต่อบุคคลเหล่านี้จะนำไปสู่ความสุขในชีวิต นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งประเภทใกล้ตัวและไกลตัว เช่น ธรรมชาติและสังคม

หัวข้อประเด็น

- ความรับผิดชอบต่อบุคคล
- ทิศ 6 ในพระพุทธศาสนา
- ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาสังคมโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1) ความสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลที่แวดล้อมตัวเรา บุคคลที่แวดล้อมตัวเรา หมายถึงใคร ทุกคนในโลกนี้ไม่มีใครสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพังคนเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความ ช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลต่างๆ ซึ่งมีทั้งบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรามาตั้งแต่เกิด และบุคคลที่เราไม่เคยรู้จักมา ก่อนเลย บุคคลเหล่านี้เอง ที่จัดว่าเป็นบุคคลที่แวดล้อมตัวเรา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะมีความสัมพันธ์ติดต่อกับผู้คนจำนวนมากมาย หรือเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ครั้นเมื่อจัดแบ่งกลุ่มของคนแวดล้อม ตามที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องแล้ว แต่ละคนจะมีบุคคลแวดล้อมอยู่ เพียงไม่เกิน 6 กลุ่ม ซึ่งในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ทิศ 6” ดังต่อไปนี้ 1.1) ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดาของเรา 1.2) ทิศเบื้องขวา หมายถึงครูอาจารย์ของเรา 1.3) ทิศเบื้องหลัง หมายถึงภรรยา (หรือสามี) และบุตรของเรา 1.4) ทิศเบื้องซ้าย หมายถึงญาติสนิทมิตรสหาย 1.5) ทิศเบื้องล่าง หมายถึงผู้ใต้บังคับบัญชา 1.6) ทิศเบื้องบน หมายถึงสมณพราหมณ์ผู้ทำหน้าที่สอนวิชาความเป็นมนุษย์ให้แก่ชาวโลก จากเรื่องทิศ 6 นี้ ย่อมเห็นได้ว่า คนเราแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางมีความสัมพันธ์กับ ทิศ 6 ขณะเดียวกันทิศ 6 ก็มีความสัมพันธ์กับตัวเรา ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับทิศ 6 ดำเนินไปอย่าง ราบรื่น ทั้งตัวเราและทิศ 6 ก็สามารถดำรงชีวิต อยู่อย่างมีความสุขตามอัตภาพ เนื่องจากไม่มีความขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น ถ้าตัวเราปฏิบัติหน้าที่ของเราโดยไม่บกพร่อง ก็ถือว่าตัวเรามีความสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลที่ แวดล้อมตัวเรา หรือมีความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 6 ดีแล้ว บุคคลที่ชื่อว่ามีความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 6 มี พฤติกรรมอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดอริยวินัยให้เป็นหน้าที่ ของตัวเราเองที่จะต้องปฏิบัติต่อ ทิศ 6 และหน้าที่ของทิศ 6 ที่ จะต้องปฏิบัติต่อตัวเรา ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในบทที่ 4 จึงยังไม่กล่าวถึงในที่นี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงเท่านั้นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง 2) ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หมายถึงอะไร สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย มีอยู่ 2 ประเภทคือ สิ่งแวดล้อม ใกล้ตัวกับสิ่งแวดล้อมไกลตัว 84 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More