ความสำคัญของปัญญาและการเจริญภาวนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 54
หน้าที่ 54 / 298

สรุปเนื้อหา

การศึกษาทางโลกอาจทำให้คนมีความสามารถและฐานะทางสังคม แต่ถ้าขาดความรู้ด้านธรรม จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี ในขณะที่ผู้ที่ศึกษาและมีคุณธรรมสูงจะมีโอกาสสร้างกรรมดีและใช้ชีวิตอย่างสงบสุข การฝึกการเจริญภาวนาช่วยให้ใจสงบ มั่นคง และสามารถขจัดกิเลส มองโลกในแง่ดี การเจริญภาวนาช่วยเพิ่มความสุข ความคิดที่เป็นบวกในการใช้ชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ขอให้ทุกคนได้ลองฝึกปรับจิตใจให้สงบเพื่อสร้างชีวิตที่มีความหมาย

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการศึกษา
-ปัญญาและชีวิต
-การเจริญภาวนา
-การทำสมาธิ
-ผลของการฝึกจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คิดพิจารณาสิ่งต่างๆ เพราะเหตุนี้ผู้ที่มีการศึกษาเล่าเรียนสูงๆ จึงมีสุตมยปัญญามากกว่าผู้ที่มีการศึกษา เล่าเรียนน้อย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีการศึกษาทางโลกสูงๆ แต่ถ้าขาดข้อมูลทางธรรม ถึงแม้จะมีความ สามารถในการประกอบกิจการงานจนมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็อาจจะมีความประพฤติชั่วช้าเลวทราม เป็น บุคคลอันตรายในสังคม สู้คนที่มีการศึกษาทางโลกน้อย แต่มีข้อมูลทางธรรมอยู่ในใจมากไม่ได้ เพราะ บุคคลประเภทหลังนี้ย่อมสามารถประคับประคองตนให้สร้างแต่กรรมดีอยู่เสมอ ยิ่งกว่านั้นเกณฑ์สำหรับ ตัดสินว่า ใครจะได้โอกาสไปสู่สุคติหรือทุคติ อยู่ที่เรื่องบุญกับบาปที่คนเราสั่งสมไว้เท่านั้น เกียรติยศชื่อ เสียงหรือวุฒิการศึกษาทางโลก ซึ่งล้วนเป็นเรื่องสมมุติ ตำแหน่งสมมุตินั้นๆ มิได้เป็นเครื่องตัดสินว่า ใคร จะได้โอกาสไปสู่สุคติ หรือทุคติในปรโลกเลย 3) ภาวนามยปัญญา หมายถึง ปัญญาอันเกิดจากการฝึกอบรมตนด้วยการฝึกทำใจให้หยุดนิ่ง ไม่คิดฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไปในเรื่องต่างๆ อย่างไร้ประโยชน์ การฝึกอบรมใจโดยวิธีนี้มักนิยมเรียกกันว่า การ เจริญภาวนา หรือ การทำสมาธิ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญญารอบรู้อย่างกว้างขวาง และมีคุณค่าต่อชีวิตมากยิ่ง กว่าปัญญา 2 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว การเจริญภาวนามีคุณค่าต่อชีวิตคนเราอย่างไร คุณค่าของการเจริญภาวนา อาจกล่าวโดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามากได้ดังนี้ คือ 3.1) ทำให้ใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน จึงทำให้ใจมีสมาธิเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องเป็น ประโยชน์ต่อการทำกิจการงานทุกประเภท 3.2) ทำให้มีความสุข ณ ที่ตั้งถาวรของใจ ซึ่งอยู่ตรงสุดลมหายใจเข้าและเรียกว่า “ศูนย์กลางกาย” เมื่อใจหยุดนิ่งไม่คิดฟุ้งซ่านอยู่ตรงศูนย์กลางกายนั้น ใจก็จะมีลักษณะประภัสสร คือใสสว่าง อันเป็นธรรมชาติของใจที่บริสุทธิ์ เมื่อใจสงบ บริสุทธิ์ คนเราก็มีความสุข มองโลกอย่างมีความหวัง เปี่ยม ด้วยความรู้สึกปรารถนาดีต่อผู้คนโดยทั่วไป และมีกำลังใจที่จะสร้างคุณความดีให้ยิ่งๆ ขึ้น 3.3) ชำแรกกิเลสได้ ถ้าสามารถประคองใจให้สงบนิ่ง ณ ศูนย์กลางกาย อย่าง ต่อเนื่องยาวนาน ใจก็จะสว่างโพลงขึ้น ใจยิ่งหยุดสนิทอย่างต่อเนื่องได้นานเท่าใด ความสว่างโพลงก็จะทวี มากขึ้นเท่านั้น ความสว่างโพลงนี้เองจะสามารถชำแรกและครอบงำกิเลสในกมลสันดานมิให้ออกฤทธิ์ หรือ แม้กระทั่งทำให้หมดฤทธิ์หมดอำนาจได้ ทำนองเดียวกับเมื่อเราอยู่ในห้องมืดสนิท มองไม่เห็นสิ่งใดๆ ที่อยู่ ในห้องนั้นเลย ครั้นเมื่อโคมไฟในห้องสว่างขึ้น ความมืดย่อมอันตรธานหายไปทันที เราจึงสามารถมองเห็น สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องนั้นได้ชัดเจน เมื่อมีสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในห้องเราก็สามารถจัดการแก้ปัญหาให้เรียบร้อยได้ด้วยดี ข้อนี้ฉันใดความสว่างที่ศูนย์กลางกายก็ฉันนั้นคือจะเอื้ออำนวยให้เรารู้เห็นสัจธรรมต่างๆ ในชีวิต มีอริยสัจ 4 เป็นสำคัญ ทำให้เกิดปัญญารู้ และเข้าใจถูกเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต ด้วยใจ บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิ รู ป ม นุ ษ ย์ DOU 39
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More