คำสอนเกี่ยวกับการไหว้ทิศ 6 และความประพฤติที่เหมาะสม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 292
หน้าที่ 292 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของการไหว้ทิศ 6 ตามหลักธรรมของอริยสาวก และระบุถึงคุณสมบัติของผู้ที่มีการประพฤติตนอย่างถูกต้อง เช่น การมีไหวพริบและการช่วยเหลือผู้อื่น โดยแสดงให้เห็นถึงการป้องกันบาปกรรม 14 ประการผ่านการปฏิบัติอริยวินัยอย่างจริงจัง การมีความสามารถในครอบครัว การเข้าใจในคำสั่งสอนจากบุพการี และการมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติธรรมเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและประสบความสำเร็จในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการไหว้ทิศ 6
-คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรม
-การป้องกันบาปกรรม
-ความสามารถในการครองเรือน
-การเป็นคนเจียมตนและมีไหวพริบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1 4 ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ในตระกูลผู้มีความสามารถ” จึงไหว้ทิศเหล่านี้ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนขยัน ไม่เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนชอบสงเคราะห์ ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนำ ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนี้ ย่อมได้ยศ อธิบายความ : การไหว้ทิศ 6 ของอริยสาวก คือ การปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ ประจำ ทิศ 6 ของแต่ละคนอย่างครบถ้วน ด้วยความจริงจังและจริงใจ ในระหว่างที่แต่ละคนกำลังพยายามปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ประจำทิศ 6 ให้ครบ ถ้วนนั้น ได้ทำให้เกิดกระบวนการในการปิดป้องทิศ 6 ให้พ้น จากบาปกรรม 14 ประการ อยู่ 2 กระบวนการ คือ ผู้มีความสามารถ ในที่นี้หมายถึง ผู้มีความสามารถที่จะครองเรือน คือเลี้ยงดูบุตร และภรรยาให้เป็นสุขได้ (ที. ปา. อ. 273/150) 2 มีไหวพริบ ในที่นี้หมายถึง มีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือ เข้าใจความหมาย ของการไหว้ทิศอย่างถูกต้อง (ที. ปา. อ. 273/150) * ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้หมายถึง ประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (ที. ปา. อ. 273/150) รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้หมายถึง เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติตามนั้น (ที. ปา, อ. 273/150) บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 277
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More