คุณของบิดาและการกตัญญูกตเวที GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 65
หน้าที่ 65 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นว่าความกตัญญูต่อบิดาเป็นเรื่องสำคัญ แม้บิดาจะมีข้อบกพร่อง เพราะชีวิตของเราขึ้นอยู่กับท่าน การโกรธหรือเคืองท่านจะนำไปสู่กรรมชั่ว บุตรควรเห็นว่าบิดามีพระคุณแม้จะบกพร่อง และใช้ข้อบกพร่องของท่านเป็นบทเรียนในการเป็นพ่อแม่ที่ดีในอนาคต ความเห็นที่ผิดจะนำมาซึ่งกรรมไม่ดี และความกตัญญูจะสร้างบุญกุศลใหม่ การเข้าใจเช่นนี้จะช่วยให้มีเจตนาในการพัฒนาและมีคุณธรรมในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความกตัญญู
-ข้อบกพร่องของบิดา
-มิจฉาทิฏฐิ
-การเกิดในสัตว์โลก
-บทเรียนในการเป็นพ่อแม่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับคุณของบิดาก็คือ ความเห็นที่ว่า “บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง” เป็น เรื่องสภาพใจของบุตรที่กอปรด้วย “ความกตัญญูกตเวที” เราย่อมรู้อยู่เต็มอกว่า ถ้าไม่มีพ่อ ตัวเราก็ไม่มี โอกาสมาเกิดเป็นมนุษย์ นั่นย่อมหมายความว่า เราจะไม่มีโอกาสสร้างบุญกุศลใหม่ ถ้าระลึกนึกถึงเรื่อง “กฎแห่งกรรม” และ “โลกนี้มี” เราก็ต้องยอมรับว่า การที่เรามีบิดาซึ่ง บกพร่องในพระคุณ 2 ประการหลัง ก็เนื่องจากกรรมชั่วในอดีตชาติของเราเองที่ชักนำให้เราต้องประสบ บิดาเช่นนี้ เมื่อเกิดปัญญาตรองได้เช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะถือโทษโกรธเคืองท่าน หรือเนรคุณต่อท่าน เพราะ การทำเช่นนี้ย่อมเป็นการสร้างกรรมชั่วของเราเองในชาตินี้ ซึ่งจะเป็นการสั่งสมบาปข้ามภพข้ามชาติต่อไปอีก ท่านนั่นเอง อนึ่งควรทำความเข้าใจว่า การที่บิดาของเราบกพร่องในหน้าที่ ก็เพราะมิจฉาทิฏฐิในใจของ ดังนั้นทางที่ถูกที่ควร เราจะต้องคิดว่า ถึงอย่างไรๆ บิดา ก็เคยมีพระคุณต่อเราผู้เป็นบุตร เป็น หน้าที่ของเราที่จะต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าวันใดวันหนึ่งเรา สามารถอนุเคราะห์ท่านให้ขจัดมิจฉาทิฏฐิออกจากใจให้หมดสิ้นได้ ย่อมเป็นการทดแทนพระคุณท่านอย่าง สูงทีเดียว นอกจากนี้เราควรจะยึดเอาความบกพร่องของบิดามาเป็นข้อเตือนใจไม่ให้เราประพฤติตนเช่นนั้น ในเมื่อถึงคราวที่เรา อยู่ในฐานะเป็นบิดา (หรือมารดา) ของบุตรของเรา บุคคลที่คิดได้เช่นนี้ย่อมแสดงว่า มีจิตใจพัฒนาความรับผิดชอบขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ย่อมชื่อว่ามีความเห็นถูกเป็น “สัมมาทิฏฐิ” ในทางกลับกัน บุตรที่มีจิตใจมืดมนด้วยอำนาจกิเลส ถ้าบิดามีข้อบกพร่อง เขาก็จะมองไม่เห็น พระคุณของบิดาเลย จึงไม่แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาแต่ประการใด บุตรประเภทนี้ เมื่อถึงคราวที่ ตนเป็นบิดา (หรือมารดา) บ้าง ก็ไม่แคล้วที่จะมีความบกพร่องในการทำหน้าที่เหมือนกัน เพราะจิตใจของ เขายังไม่พัฒนานั่นเอง บุคคลประเภทนี้ชื่อว่ามีความเห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” 1.3.9 ความเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิด สัตวโลกทั้งหลายมีการเกิดอย่างไร พระพุทธศาสนาให้ความรู้แก่เราว่า การเกิดของสัตวโลกทั้งมวลมี 2 ลักษณะ คือ การถือ กำเนิดในมนุษยโลก กับการถือกำเนิดนอกมนุษยโลก 1 - มหาสีหนาทสูตร ม. มู. 18/169/146 50 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More