กรรมและวิบากในศาสนาพุทธ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 89
หน้าที่ 89 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อเรื่องกล่าวถึงกรรมและวิบากของผู้ที่มีอาชีพและการกระทำที่ไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะพราหมณ์ปุโรหิตและการรักษาศีลอุโบสถ การได้เกิดเป็นเทพบุตรและตกเป็นเปรตสื่อถึงผลของกรรมที่ดีและชั่ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการกระทำทั้งในด้านดีและไม่ดี แม้เพียงเล็กน้อย โดยสอนให้ผู้คนตระหนักถึงการกระทำดีและเลิกทำความชั่วทุกชนิด รวมถึงความสำนึกรับผิดชอบทางเศรษฐกิจและการเว้นขาดจากอบายมุข

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลกรรม
-ผลแห่งการทำดีและชั่ว
-ความยุติธรรมในศาสนาพุทธ
-บทเรียนจากเรื่องของพราหมณ์ปุโรหิต
-การเว้นจากอบายมุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมาทานอุโบสถหญิงนั้นจึงรับมะม่วงจากปุโรหิตมารับประทานนี้คือความดีประการที่สองของพราหมณ์ปุโรหิต งามสง่า ครั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว พราหมณ์ปุโรหิตนั้นได้ไปเกิดในวิมานทองอันงามเรืองรอง เป็นเทพบุตร แวดล้อมด้วยเทพกัญญาหมื่นหกพันเป็นบริวารเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม 2 ประการ ที่ทำไว้ แต่เพราะวิบากกรรมที่สั่งสมไว้ ในเวลารุ่งอรุณ เทพบุตรนั้นก็จะกลายสภาพเป็นเปรต เข้าไปสู่สวนอัมพวัน มีรูปร่างสูงผอมขนาดต้นตาล มีไฟติดทั่วร่าง เสมือนดอกทองกวาวที่บานสะพรั่งเต็มต้น นิ้วมือทั้งสิบนิ้วมีเล็บโตเท่าจอบขนาดใหญ่ เขาเอาเล็บกรีดจิกควักเนื้อที่แผ่นหลังของตนออกมากิน เสวยทุกขเวทนาร้องโอดครวญอยู่ ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ตก ร่างของเปรตก็หายไป บังเกิดเป็นร่างเทพบุตร งามสง่าขึ้นมาแทน พระบรมศาสดาตรัสสรุปผลแห่งกรรมของเวมานิกเปรตนั้นว่าการที่เวมานิกเปรตนั้นได้เสวยยศ อันเป็นทิพย์ แวดล้อมด้วยหญิงฟ้อนหมื่นหกพันเป็นบริวารบำรุงบำเรอ เป็นผลจากการรักษาอุโบสถศีลครึ่งวัน การได้สวนอัมพวัน อันมีปริมณฑล 3 โยชน์ เป็นผลจากการให้มะม่วงแก่สตรีผู้สมาทานอุโบสถ แต่เพราะ เหตุแห่งการกินสินบน ตัดสินคดีอย่างไม่เป็นธรรม จึงต้องจิกควักเนื้อบนแผ่นหลังของตนกิน จากเรื่องทั้ง 2 ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องของผู้มีหน้าที่รักษาความยุติธรรม แต่การทำ หน้าที่ของบุคคลทั้งสอง ก็เหมือนกันตรงที่ไร้ความเป็นธรรม เนื่องจากกินสินบน แต่ลักษณะนิสัยและ พฤติกรรมอื่นๆ อาจแตกต่างกันออกไปบ้าง เมื่อละโลกไปแล้ว จึงประสบวิบากกรรมต่างกัน อย่างไรก็ตามการทำกรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว แม้เพียงเล็กน้อย ก็ให้ผลวิบากมากมายเกินคิดเกินคาด ดังเช่นพราหมณ์ปุโรหิต สมาทานอุโบสถเพียงครึ่งวัน ก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เสวยยศอันเป็นทิพย์ พร้อม บริบูรณ์ด้วยหญิงฟ้อนบำรุงบำเรออย่างมีความสุขสนุกสนาน แต่การที่บุคคลทั้ง 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยอคติ ซึ่งในความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่สัมมาทิฏฐิยังไม่เข้าไปอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคงอาจจะมองว่าเป็นบาปเล็กๆ น้อยๆ แต่เมื่อวิบากของบาปนั้นปรากฏขึ้นแล้ว ก็หนักหนาสาหัสถึงขั้นเป็นเปรตและตกนรกทีเดียว ด้วยเหตุนี้ โบราณาจารย์จึงเตือนสติเสมอว่า “ความชั่วแม้เพียงน้อยนิด อย่าได้คิดทำเป็นอันขาด ส่วนความดีแม้ เพียงนิดน้อย ก็อย่าคอยใคร จงรีบทำไปเถิด” 2.3.3 ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ บุคคลที่มีความสำนึกรับผิดชอบประการที่ 3 มีพฤติกรรมอย่างไร พฤติกรรม หรือการประพฤติปฏิบัติที่แสดงว่า คนเรามีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทาง เศรษฐกิจ ก็คือ การเว้นขาดจากอบายมุขทั้งปวง อบายมุข คืออะไร ได้อธิบายคำว่า “อบายมุข” ไว้ครั้งหนึ่งแล้วในเรื่องเกี่ยวกับวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วว่า หมายถึง “ปากทางแห่งความฉิบหาย” 74 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More