ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.2.4 ทิศเบื้องซ้าย
หมายถึง มิตรสหาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของมิตรสหาย ที่
ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นทิศเบื้องซ้าย เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อตนเอง และตนเองก็ต้องปฏิบัติต่อ
เพื่อนด้วย ไว้เป็นตัวอย่าง 5 ประการ คือ
1) กล้าป้องกันรักษามิตรผู้ประมาทแล้ว มิตรสหายคนใดก็ตาม เมื่อทราบว่าเรากำลัง
ประสบปัญหา เนื่องจากความโชคร้ายหรือความประมาท แต่ไม่ใช่สันดานเลวของเรา แล้วไม่สนใจใยดี
ช่วยเหลือเรา ทั้งๆ ที่เขาอยู่ในฐานะที่จะช่วยเราได้พึงรู้เถิดว่าเขาเป็นศัตรูในคราบมิตร
2) กล้ารักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว เมื่อเราประสบปัญหาเพราะความประมาท มิตร
ก็เข้ามาช่วยดูแลรักษาทรัพย์ให้ ไม่ฉกฉวยทรัพย์ของเราไปเป็นของตน พึงรู้เถิดว่าเขาเป็นมิตรแท้
3) กล้าเป็นที่พึ่งเมื่อคราวมีภัย เพื่อนที่เป็นมิตรแท้ ย่อมกล้าเป็นที่พึ่ง ยามเมื่อเรามีภัย
4) กล้าไม่ละทิ้งในยามวิบัติ นี่คือลักษณะของกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง
5) นับถือตลอดวงศ์ตระกูลของมิตร มิตรสหายที่ให้เกียรติ เคารพนับถือบุคคลในตระกูล
ของเราทุกคน ย่อมแสดงว่าเขาเป็นมิตรแท้ของเรา
ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมทั้ง 5 ประการนี้ เป็นคุณสมบัติ ของกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง จะ
เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ ครูอาจารย์ ทุกท่าน
ต้องตระหนัก และตั้งใจปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจลูกหลาน และนักเรียนนักศึกษาทั้งหลาย
ตั้งแต่วัยเยาว์
4.2.5 ทิศเบื้องล่าง
หมายถึงผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้างของเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้
เป็นอริยวินัยของผู้เป็นหัวหน้า และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง ที่ต้องปฏิบัติต่อกันฝ่ายละ 5 ประการ
ดังนี้
หน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของผู้เป็นหัวหน้าหรือนายจ้าง ที่ต้อง
ปฏิบัติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อลูกน้อง หรือลูกจ้าง ไว้เป็นตัวอย่างให้ดู 5 ประการ คือ
1) สามารถจัดการงานให้สมควรแก่กำลัง หมายความว่ามอบหมายงานให้แก่ลูกน้องหรือ
ลูกจ้าง ให้เหมาะสมกับกำลังตามวัยและเพศ ตลอดจนความถนัด ความรู้ ความสามารถ และ
ประสบการณ์ของลูกน้องแต่ละคน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลสูงสุด
บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ
DOU 161