การปลูกฝังหลักธรรมแม่บทในการศึกษา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 156
หน้าที่ 156 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการบูรณาการหลักธรรมแม่บทในหลักสูตรวิชาศีลธรรมในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครูต้องมีความรู้พระพุทธศาสนาเพื่อนำมาสอนผู้เรียนให้เข้าใจ และเห็นคุณค่าของธรรมะในชีวิตจริง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังคนรุ่นต่อไปได้. ดำเนินการนี้จะช่วยให้พระพุทธศาสนายังคงได้รับการพัฒนาต่อไป และช่วยมนุษยชาติให้พ้นทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังธรรมะในการศึกษา
-ความสำคัญของการรวมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
-บทบาทของครูในการสอนศีลธรรม
-หลักธรรมแม่บทในหลักสูตรการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักธรรมแม่บทต่างๆ ต้องนำมาแบ่งเฉลี่ยลงในหลักสูตร วิชาศีลธรรมในชั้นประถม มัธยม และอุดมศึกษา ตามความเหมาะสม การปลูกฝังภาคทฤษฎีมีวัตถุประสงค์อย่างไร 2.1) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าใจภาคปฏิบัติยิ่งขึ้น การปลูกฝังภาคปฏิบัตินั้น ส่วนใหญ่เป็น เรื่องของการปลูกฝังนิสัยจากทางบ้าน ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องอบรมสั่งสอนบุตรธิดาของตน ตั้งแต่ ก่อนวัยเรียน เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ ก็ต้องพยายามโยง ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน ให้ผู้เรียนเห็นอย่างเป็นรูปธรรม และจะทิ้งภาคปฏิบัติไม่ได้ 2.2) เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าของธรรมะในพระพุทธศาสนาว่า สามารถนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในชีวิตจริงของคนเราได้อย่างไร สามารถยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึกในชีวิตได้อย่างไร เพราะฉะนั้นครู อาจารย์ประจำวิชาต่างๆ ทุกท่าน จำเป็นต้องมีความรู้พระพุทธศาสนา อย่างถูกต้องลึกซึ้งพอสมควร เพื่อ จะสามารถปลูกฝังภาคปฏิบัติแก่ผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ส่วนครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรมนั้น จะต้องมีความรู้พระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อย่างน้อยก็ต้องรู้และเข้าใจ หลักธรรมแม่บทอย่างลึกซึ้ง จึงจะสามารถเป็นประธานในการสนทนาธรรมกับศิษย์ได้ สามารถตอบคำถามทุกรูปแบบของศิษย์ได้ 2.3) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ลึกซึ้ง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มี ความซาบซึ้งในพระธรรมภาคปฏิบัติ ถึงขั้นยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตน อีกทั้งสามารถ ถ่ายทอดหลักธรรมแม่บททั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติแก่ผู้อื่นให้เกิดความเข้าใจและเลื่อมใสได้ ครั้นเมื่อผู้เรียน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถถ่ายทอดอบรมปลูกฝังธรรมให้แก่ลูกหลานเหลนของตนได้ โดยวิธีนี้พระพุทธ ศาสนาย่อมจะพัฒนา ถาวรสืบไปไม่ขาดสาย ซึ่งจะเอื้อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติให้พ้นทุกข์ และ ประสบความสุขได้จริง เพราะได้รู้ว่าตนเกิดมาทำไม การจัดเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ควรมีหลักการอย่างไร หลักธรรมแม่บทต่างๆ ที่นำมาเฉลี่ยลงในหลักสูตรวิชาศีลธรรมสำหรับแต่ละระดับชั้น จะมี หลักธรรมอยู่กี่หมวดก็ตามจะต้องจัดทำเนื้อหาสาระแห่งการเรียนการสอนโดยให้มีความสัมพันธ์กับภาคปฏิบัติ 3 ประการ คือ ทาน ศีล ภาวนา ทุกระดับชั้น สำหรับหัวข้อธรรม “สัมมาทิฏฐิ 10” นั้น ควรบรรจุไว้ในหลักสูตรระดับมัธยมปลายทุกชั้นปี แต่วิธีการเรียนการสอนควรให้แตกต่างกันไป ตรงการเชื่อมโยงธรรมะหมวดนี้กับหมวดอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อหา สาระสัมพันธ์กัน เช่น ในชั้น ม. 4 อาจกำหนดให้ “สัมมาทิฏฐิ 10” สัมพันธ์กับ มิจฉาทิฏฐิ 10 กุศลกรรมบถ 10 อกุศลกรรมบถ 10 ในชั้น ม.5 อาจกำหนดให้ “สัมมาทิฏฐิ 10” สัมพันธ์กับ บุญกิริยาวัตถุ 3 บุญกิริยา วัตถุ 10 กรรมกิเลส 4 อคติ 4 มิตรเทียม มิตรแท้ อบายมุข ในชั้น ม. 6 อาจกำหนดให้ “สัมมาทิฏฐิ 10” สัมพันธ์กับ กำเนิด 4 หิริโอตตัปปะ สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 ส่วนระดับอุดมศึกษาก็ควรจัดให้ เหมาะสม บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 141
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More