การพัฒนาจิตใจและนิสัยของเด็กในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 153
หน้าที่ 153 / 298

สรุปเนื้อหา

การทำกิจกรรมร่วมกันในชีวิตประจำวันช่วยให้เด็กเรียนรู้กฎ มารยาท และวัฒนธรรม พวกเขาเรียนรู้ที่จะคิดดี พูดดี และทำดี ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี และมีศีลธรรม โดยการปลูกฝังภาคปฏิบัติจะสร้างผลดีต่อนิสัยของเด็ก เช่น ความรักความดี การเสียสละ และความสามัคคีในองค์กร หากเด็กไม่สามารถปรับตัวได้ การอบรมจากผู้ใหญ่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนานิสัยที่ดีสำหรับอนาคต เช่นการศึกษาธรรมะหรือการทำทานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลวัฒนธรรมทางจิตใจที่สูงในชุมชน.

หัวข้อประเด็น

-การทำกิจกรรมร่วมกัน
-การฝึกนิสัยดีในเด็ก
-การพัฒนาจิตใจ
-ผลของการปลูกฝังภาคปฏิบัติ
-บทบาทของผู้ใหญ่ในการอบรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในชีวิตประจำวันซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกัน การกินร่วมกัน การเล่นกีฬาร่วมกัน ฯลฯ กิจกรรมใน ชีวิตประจำวันซึ่งเกี่ยวกับด้านศาสนา เช่น การใส่บาตร รวมทั้งการเตรียมอาหารใส่บาตร การไม่ทำผิดศีล การสวดมนต์และการทำสมาธิภาวนาพร้อมกัน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่วัด เช่น การฟังธรรม เป็นต้น เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว ย่อมจะได้เรียนรู้กฎ กติกา มารยาท ตลอดจน วัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน หรือ คบหาสมาคมกันมากขึ้น ได้เรียนรู้อัธยาศัยของพ่อแม่ผู้ปกครอง ญาติพี่ น้อง ตลอดจนบุคคลอื่นๆ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมมากขึ้น ย่อมเกิดปัญญารู้จักปรับความคิดและพฤติกรรมของตน เพื่อให้สามารถร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น ขณะเดียว กันบางคนก็อาจจะได้บทสรุปด้วยตนเอง ว่า การคิดดี พูดดี และทำดี ย่อมทำให้สามารถร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้โดยไม่มีปัญหา สิ่งนี้คือการ พัฒนาตนเองให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเป็นคนดีมีศีลธรรมตลอดไป แต่ถ้าเด็กคนใดไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ เพราะยังมีความคิดเห็นผิดๆ เช่น บันดาล โทสะง่าย พูดจาก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้งกับผู้ร่วมทำกิจกรรม ชอบแสดงกิริยาหยาบคาย ฯลฯ ย่อม เป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ของผู้อื่น กรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นภาระหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องให้การอบรมขัดเกลา นิสัยต่อไป การปลูกฝังภาคปฏิบัติจะก่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างไร ถ้าการปลูกฝังภาคปฏิบัติ ดำเนินไปตามหลักธรรมแม่บทและหลักการที่ได้กล่าวมาแล้ว ย่อม จะก่อให้เกิดประสิทธิผล 2 ประการ คือ 1.1) เด็กๆ ที่ได้รับการปลูกฝังภาคปฏิบัติจะมีนิสัยรักความดี หลีกหนีเกลียดชังความชั่ว รักบุญ กลัวบาป รู้จักเสียสละ ซึ่งมีทั้งการเสียสละทรัพย์สิ่งของ เช่น การแบ่งปัน การทำทาน การทำสังคมสงเคราะห์ รู้จักสละอารมณ์ เช่น อดทนไม่โกรธง่าย รู้จักสละเวลามาร่วมทำกิจเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม รู้จักสละ ความสะดวกสบาย เช่น เข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะโดยไม่เอาเปรียบผู้อื่น รู้จักเกรงใจ ผู้อื่นไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้เกียรติยกย่องผู้อื่น ยกย่องบูชาคนดี ไม่อิจฉาริษยาใคร รู้จักคุณค่า และความ สำคัญของความสามัคคีในหมู่คณะ พยายามทำตัวเป็นกัลยาณมิตรกับผู้คนรอบข้าง และที่สำคัญก็คือ รักการเจริญสมาธิภาวนา พฤติกรรมดังกล่าว ถ้ามองเป็นรายบุคคล ในด้านลักษณะ นิสัย ก็ถือได้ว่า เป็นผู้มีนิสัยดี ย่อม เป็นที่รัก เคารพ นับถือ เกรงใจของผู้ที่มาสมาคมติดต่อด้วย ถ้ามองในด้านธรรมะ ก็ถือได้ว่าเป็นคนดี มีศีลธรรม รักการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ไม่ว่าเขา จะรู้หลักธรรมหรือไม่ก็ตาม ถ้ามองเป็นหมู่คณะบุคคลในชุมชน ก็ถือได้ว่าเป็นชุมชน ที่มีวัฒนธรรมทางจิตใจสูงส่งดีงาม และ ถ้านำหลักธรรมแม่บทเข้ามาประเมิน ก็มั่นใจได้ว่าบุคคลที่ได้รับการปลูกฝังภาคปฏิบัติมาดีแล้ว จะผ่าน เกณฑ์ประเมินทุกข้อ 138 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More