เรื่องราวของเศรษฐีกับผลวิบากกรรม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 96
หน้าที่ 96 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาชี้ให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของเศรษฐีที่ขาดการสั่งสมบุญและเสื่อมจากความร่ำรวย สุดท้ายกลายเป็นขอทานในวัยชรา สะท้อนถึงผลจากการไม่บำเพ็ญบุญและการตกอยู่ในอบายมุข การวิเคราะห์ยังสะท้อนให้เห็นถึงการที่คนเราอาจสูญเสียโอกาสจากการไม่ศึกษาหรือบำเพ็ญสมาธิและศีลธรรม ซึ่งเป็นเหตุผลในการพิจารณาต่อผลกรรมในชาตินี้และชาติหน้า โดยยกตัวอย่างเรื่องราวของพระเทวทัตที่คบคนชั่วและทำให้เกิดกรรมที่ไม่ดีตามมา

หัวข้อประเด็น

-ผลวิบากกรรม
-การใช้ชีวิตของเศรษฐี
-ศีลธรรมและสมาธิ
-การศึกษาพระพุทธศาสนา
-ผลกรรมในชาตินี้และชาติหน้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้สิ้นไป รู้จักประกอบการงานในปัจฉิมวัย เขาก็จะได้เป็นเศรษฐีชั้น 3 ถ้า ออกบวช ก็จะได้เป็นสกทาคามี แม้ภรรยาของเขาก็จะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แต่บัดนี้บุตรเศรษฐีนั้น เสื่อมจากโภคทรัพย์ของคฤหัสถ์แล้ว เสื่อมจากสามัญญผลแล้ว (ผลแห่งความเป็นสมณะ) ในกรณีบุตรเศรษฐีผู้กลับกลายเป็นขอทานในวัยชราเช่นนี้ถ้าจะพิจารณาโดยอิงอาศัยเหตุและผล ตามหลักการของเรื่องโลกนี้โลกหน้าและผลวิบากของกรรมแล้ว ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ในอดีตชาติทั้งบุตร เศรษฐีและภรรยาของเขาได้สั่งสมบุญ คือ ทำทานและรักษาศีลมาเป็นอย่างดี จึงได้มาเกิดในตระกูล เศรษฐีผู้มั่งคั่งร่ำรวยในโลกนี้ แต่เพราะเหตุที่ขาดการบำเพ็ญสมาธิภาวนา บุคคลทั้ง 2 จึงขาดปัญญา มารดา บิดาก็มิได้ส่งเสริมให้ศึกษาวิทยาการใดๆ ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ บุคคลทั้ง 2 ก็มิได้สั่งสมบุญกุศลใหม่อีกเลย มิหนำซ้ำยังจมอยู่กับ อบายมุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เป็นสามีที่ติดสุราอย่างหนัก เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว โลกหน้าของบุคคลทั้ง 2 ย่อม เป็นทุคติอย่างแน่นอน อาจถึงขั้นต้องได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสอยู่ในมหานรกนับด้วยหลายล้านปี ครั้นเมื่อพ้นจากการทรมานในมหานรก ได้มีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้อีก ก็จะ เป็นคนยากจนข้นแค้นเพราะไม่เคยบำเพ็ญทานไว้ในโลกนี้เลยอาจถึงขั้นต้องเป็นขอทานตั้งแต่ยังเป็นทารกก็ได้ สำหรับผู้เป็นสามีนั้นนอกจากจะเกิดในครอบครัวที่ยากจนข้นแค้นแล้ว ยังอาจจะเป็นเด็กปัญญาอ่อน เพราะ เศษกรรมจากการติดสุราที่ยังหลงเหลืออยู่อีกด้วย เรื่องที่ 2 ฆ่าบุพการีได้ เพราะคบคนชั่วเป็นมิตร ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นราชาแห่งแคว้นมคธ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรม จนบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน ทรงเป็นอุปัฏฐากสำคัญของพระพุทธ ศาสนา ขณะที่เสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระราชาก็มักจะพาอชาตศัตรูราชกุมารพระราชโอรส ซึ่ง พระองค์ทรงแต่งตั้งให้เป็นอุปราชไปด้วยเสมอ พระเทวทัตเป็นพระญาติองค์หนึ่งของพระบรมศาสดา ได้ออกผนวชพร้อมกับศากยกุมาร อีก 5 องค์ ภายหลังต่อมา บรรดาศากยภิกษุ 4 รูป ได้บรรลุพระอรหัต พระอานนท์ผู้เป็น 1 ใน 5 องค์นั้นได้ บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ส่วนพระเทวทัตบรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน คือ โลกิยฌาน ขณะเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ลาภสักการะเป็นอันมากได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคต และเหล่าพระมหาสาวก แต่ไม่มีประชาชนคนใดนำลาภสักการะไปถวายพระเทวทัตเลย ด้วยความน้อยใจและความคิดริษยาพระพุทธองค์ และพระมหาสาวกทั้งปวง พระเทวทัตจึง คิดวางแผนหาลาภสักการะ ด้วยการสมคบกับอชาตศัตรูราชกุมาร ด้วยเหตุว่าพระราชกุมารยังอ่อนเยาว์ ต่อโลก ยังไม่รู้คุณและโทษของใครๆ คิดเช่นนั้น แล้วพระเทวทัตก็ออกจากกรุงโกสัมพี มุ่งสู่กรุงราชคฤห์ทันที - ยมกวรรค ขุ. ธ. มก. 40/11/188 บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More