การพัฒนาอารมณ์และการสื่อสารด้วยปิยวาจา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 207
หน้าที่ 207 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการสื่อสารและอารมณ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การมีปิยวาจา การหลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบคาย และการสร้างนิสัยดีๆ ผ่านการคบหากัลยาณมิตร การศึกษาทางธรรมะ และการปฏิบัติธรรม เช่น การบำเพ็ญบุญ การรักษาศีล เพื่อให้จิตใจปราศจากมิจฉาทิฏฐิและมีอารมณ์ดี สุดท้ายได้มีการอ้างอิงถึงเรื่องราวจากพระไตรปิฎกที่แสดงถึงประโยชน์ของการใช้ปิยวาจา ตัวอย่างในการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาอารมณ์
-การใช้ปิยวาจา
-คุณธรรมในการสื่อสาร
-ผลของนิสัยในชีวิต
-เรียนรู้จากพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ สาวกลับไปหาเหตุก็จะเห็นว่า บุคคลที่สามารถ เจรจาไพเราะหรือมีปิยวาจาอยู่เสมอ ก็เพราะมีอารมณ์ดี มีความอดทนต่อการกระทบกระทั่งสูง เหตุที่มี อารมณ์ดี ก็เพราะเคยได้รับการฝึกอบรมมาดีจนเกิดนิสัยดีๆ นิสัยดีๆ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีสัมมาทิฏฐิเข้าไป อยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวรนั่นเอง จึงเป็นคนน่ารักเสมอ ส่วนบุคคลที่เจรจาไม่ไพเราะ หรือมีอัปปิยวาจาอยู่เสมอ ก็เพราะมีอารมณ์ร้อนโกรธง่าย ไม่มี ความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง เมื่อบันดาลโทสะก็จะกล่าวคำหยาบคายเป็นอาจิณ ประกอบกับไม่ใคร่ ได้รับการฝึกฝนอบรมในด้านศีลธรรมและคุณธรรม อีกทั้งมีแบบอย่างไม่ดี จากผู้คนแวดล้อมให้ดูเป็นประจำ แม้ขณะที่อารมณ์ดีก็เจรจาไม่ไพเราะ เนื่องจากคุ้นเป็นนิสัยแล้ว เมื่อสั่งสมไว้แต่นิสัยที่ไม่ดี จิตใจของเขา จึงหนาแน่นไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ ชอบกล่าวอัปปิยวาจา จึงเป็นคนไม่น่ารัก ไม่น่าเข้าใกล้ ทำอย่างไรบุคคลที่มีอัปปิยวาจาจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีปิยวาจาได้ อาจทําได้ 3 วิธี คือ 1) คบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร พยายามเลียนแบบปิยวาจาจากกัลยาณมิตร ขณะ เดียวกันก็ตั้งใจกำจัดอัปปิยวาจา ที่ตนเคยใช้อยู่เสมอ ในที่สุดเมื่อคุ้นกับการใช้ปิยวาจาแล้ว ก็จะรู้สึกเก้อ เขิน ถ้าจะกล่าวอัปปิยวาจาออกมา โดยวิธีนี้อัปปิยวาจาก็จะอันตรธานหายไปจากความคุ้นเอง 2) หลีกห่าง ไม่พยายามเข้าไปเกลือกกลั้วกับเหล่าคนพาล สันดานกักขฬะ 3) ศึกษาและปฏิบัติธรรม มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เป็นสำคัญ เพื่อให้ใจละเอียด ผ่องใส เป็นนิตย์ ขณะเดียวกันก็หาทางศึกษาให้รู้ถึงคุณของปิยวาจา และโทษภัยร้ายแรงของอัปปิยวาจา ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างประโยชน์ของปิยวาจา และโทษของอัปปิยวาจาจากพระไตรปิฎก เรื่องที่ 1 กล่าวถ้อยคำถูกใจได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ครั้งหนึ่ง พระบรมศาสดาได้ตรัสเล่าเรื่องแก่พระภิกษุทั้งหลายเกี่ยวกับบุตรเศรษฐีคนหนึ่งใน สมัยก่อนพุทธกาล ว่า วันหนึ่ง บุตรเศรษฐีพร้อมด้วยเพื่อนชายอีก 3 คน ซึ่งล้วนเป็นบุตรเศรษฐีเหมือนกัน ได้พากันออกไปเที่ยวนอกเมืองพาราณสี ขณะที่ยืนอยู่ตรงทางแยก เพื่อนคนหนึ่งมองเห็นพรานเนื้อบรรทุก เนื้อที่หามาได้จากป่าเต็มยานคันน้อย เพื่อนำมาขาย เพื่อนคนนั้นจึงเดินเข้าไปขอเนื้อจากนายพราน โดย กล่าวกับนายพรานว่า “เฮ้ยพราน ให้เนื้อแก่ข้าบางสิ นายพรานจึงตอบว่า “วาจาของท่านหยาบคายจริงหนอ ท่านขอเนื้อ วาจาของท่านเช่นกับพังผืด เราจะให้พังผืดแก่ท่าน เมื่อเพื่อนคนที่ 1 ได้เนื้อกลับมา เพื่อนอีกคนหนึ่งจึงเข้าไปขอบ้าง โดยกล่าวกับนายพรานว่า ขุ. ชา. อรรถกถามังสชาดก มก. 58 หน้า 476-477 192 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More