ความเอื้ออาทรและการสร้างเครือข่ายคนดี GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 129
หน้าที่ 129 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของการเอื้ออาทรและการบริจาคช่วยเหลือในสังคม โดยเน้นถึงการสร้างเครือข่ายคนดีซึ่งจะนำไปสูการพัฒนาจิตใจและการสร้างบุญในชุมชน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จะแบ่งปันขุมทรัพย์ให้กับผู้ที่มีศีลธรรม ในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาตามหลักธรรม การพัฒนาวัด และการช่วยเหลือสังคม ซึ่งช่วยลดปัญหาสังคมและเพิ่มความมั่นคงให้แก่ชุมชน โดยมีการยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับกัลยาณมิตรเพื่อสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมความดีและความเข้มแข็งในชุมชน

หัวข้อประเด็น

-ความเอื้ออาทร
-การหล่อหลอมบุญ
-พระพุทธศาสนา
-การพัฒนาสังคม
-การสร้างเครือข่ายคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความเอื้ออาทรได้ เพราะขุมทรัพย์ใหญ่นี้มีความเข้าใจลึกซึ้งเรื่องการเปลี่ยนขุมทรัพย์หยาบให้เป็น ขุมทรัพย์ละเอียดคือบุญ โดยการบริจาคช่วยเหลือคนดีที่ควรได้รับการอนุเคราะห์ ขุมทรัพย์ใหญ่นี้ มิได้มี ความคิดเหมือนคนตาเดียวที่ชอบทำนาบนหลังคน หรือ ชอบดูดเลือดคนด้วยการคิดดอกเบี้ย 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อเดือน เป็นต้น นักศึกษาจะเข้าใจเรื่องคนดี คือขุมทรัพย์ที่เปี่ยมด้วยความเอื้ออาทรดีขึ้น ถ้ามองเข้าไปใน วงการพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ทรงกระจายขุมทรัพย์ เพื่อใช้ประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา ให้อยู่ในความรับผิดชอบของพุทธบริษัทที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาเก็บสะสมกันไว้ ถ้าพุทธ บริษัทที่เป็นภิกษุ หรือสามเณรผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ย่อมมีสิทธิ์นำเอาโลกียทรัพย์จากขุมทรัพย์เคลื่อนที่ เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ใน ทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้เสมอ แม้อุบาสกอุบาสิกาที่เป็นคนดี มีศีลธรรมมั่นคง สม่ำเสมอ ก็มีสิทธิ์ไปเอาทั้งโลกียทรัพย์ และอริยทรัพย์จากขุมทรัพย์เคลื่อนที่เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดคุณ ประโยชน์ได้เหมือนกัน เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนที่เหล่านั้นพร้อมที่จะแจกจ่าย ด้วยศรัทธามั่นว่าจากสัมปทา ของตน จะก่อให้เกิดผลบุญติดตัว ติดใจไปทุกภพทุกชาติ 4. เป็นการพัฒนาสัมมาทิฏฐิให้แก่รอบยิ่งขึ้น ผู้คนในเครือข่ายกัลยาณมิตรย่อมเกี่ยวข้อง อยู่กับกรรมดีห่างไกลจากกรรมชั่ว กล่าวคือ ในการทำมาหากินก็สามารถประกอบอาชีพได้ด้วยความสุจริต พ้นจากการทำมาหากินแล้วก็มุ่งสั่งสมบุญบารมีด้วยมีความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจต้องไปคู่กัน เมื่อคิดเช่นนี้และปฏิบัติเช่นนี้ สัมมาทิฏฐิของเขาย่อมแก่รอบขึ้นเรื่อยๆ การรู้จักเลือกคบแต่คนดี (กัลยาณมิตตตา) หรือ “ทั้งคบคนดีและสร้างเครือข่ายคนที่เป็น” นี้ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ในเบื้องต้นตัวเราเองต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่ออบรมตนเองให้เป็นคนดีมี สัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามคบหาสมาคมกับคนดีมีสัมมาทิฏฐิ เพื่อ ซึมซับคุณธรรมความดีของบุคคลเหล่านั้นมาไว้ในตัวเราให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็พยายามสร้างเครือ ข่ายคนดีให้กว้างขวางขึ้น ด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างชักชวนกันมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมความดี เช่นการ ศึกษา และการปฏิบัติตามหลักธรรมมีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ร่วมกันทำกิจกรรมส่งเสริม และทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา เช่น การทำกิจกรรมพัฒนาวัด การชักชวนคนไปบวชเป็นภิกษุสามเณร ตลอดจนการ อุปถัมภ์ผู้บวช เหล่านั้น นอกจากนี้ก็มีการร่วมกันทำกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ ในหมู่บ้านชุมชนของตน ตามความเหมาะสม สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอก็คือ การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรขึ้นในหมู่บ้าน หรือชุมชนเป็นสิ่งที่ มีคุณค่ายิ่ง เพราะเป็นการสร้างขุมทรัพย์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของทุกๆ คนในชุมชน และถ้าเครือข่าย กัลยาณมิตรแข็งแรงมั่นคงแล้ว เหล่าอันธพาลสันดานหยาบ เหล่ามิจฉาทิฏฐิชน และแหล่งอบายมุข ต่างๆ ก็จะสูญพันธุ์ไป ดุจเดียวกับโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่กลับมากล้ำกลายบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่ ฉะนั้น 114 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More