การตระหนี่และปัญญาในพระพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 53
หน้าที่ 53 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมอันเป็นบาปที่เกิดจากความตระหนี่ ซึ่งส่งผลต่อวิบากกรรมของบุคคลตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนตระหนี่จะมีผลกรรมที่หนักหน่วง และการเปรียบเทียบระหว่างสัตบุรุษกับอสัตบุรุษ ซึ่งสัตบุรุษจะไปสวรรค์ ขณะที่อสัตบุรุษจะไปนรก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงปัญญาที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ จินตามยปัญญา (ปัญญาจากการคิด), สุตมยปัญญา (ปัญญาจากการศึกษา) และภาวนามยปัญญา (ปัญญาจากการทำสมาธิ) โดยบรรยายถึงคุณสมบัติและประโยชน์ของแต่ละประเภทเพื่อเข้าใจในแนวทางการพัฒนาตนเองในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-พฤติกรรมอันเป็นบาป
-ความตระหนี่
-สัตบุรุษและอสัตบุรุษ
-ประเภทของปัญญา
-การพัฒนาตนเองในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พฤติกรรมอันเป็นบาปเหล่านี้ ล้วนมีจุดตั้งต้นที่ความตระหนี่นั่นเอง ซึ่งในที่สุดก็จะประมวล รวมกันเป็นวิบากแห่งกรรมชั่วมาถึงตัวเขาอย่างรุนแรงถึงขั้นตกนรกทีเดียว ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน พิลารโกสิยชาดก ดังนี้ “คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจน ย่อมไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ใดเลย ความ กลัวจนนั่นแหละจะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าว อยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาถูกต้องคนพาล (คนตระหนี่) ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า” และ “เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษ (ผู้ให้ทาน) กับ อสัตบุรุษ (คนตระหนี่) จึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์” 4) ปัญญาสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยปัญญา ปัญญา คือ อะไร ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความเข้าใจทั้งระดับพื้นผิวและระดับลึก ปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร ในพระพุทธศาสนา แบ่งปัญญาออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการเกิด 2 ดังนี้ คือ 1) จินตามยปัญญา 2) สุตมยปัญญา 3) ภาวนามยปัญญา 1) จินตามยปัญญา หมายถึง ปัญญาอันเกิดจากการคิดพิจารณาหาเหตุผล เป็นสิ่งที่ทุกคนมี ติดตัวกันมาตั้งแต่เกิด คนปัญญาอ่อนเท่านั้นที่คิดไม่เป็น หรือไม่รู้จักคิด อย่างไรก็ตามความคิดของแต่ละคน จะถูกหรือผิด จะชั่วหรือดี ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ข้อมูลที่ตนได้รับ สภาวะแวดล้อมการปลูก ฝังอบรมที่ตนได้รับประสบการณ์ชีวิต การกระทำซ้ำซากจนเป็นนิสัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนมีความคิด คือ จินตามยปัญญาแตกต่างกัน 2) สุตมยปัญญา หมายถึงปัญญาอันเกิดจากการศึกษาเล่าเรียนและการสดับฟังจากครูอาจารย์ ผู้คนแวดล้อม ตลอดจนสื่อทั้งหลาย ข้อมูลที่ได้จากการได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ได้ดู จะเป็นปัจจัยสำคัญในการ 1 ขุ. ชา. มก. 59/1445, 1448/913, 914 ที. ปา. สังคีตสูตร หมวด 3 มก. 16/228/173 38 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More