อบายมุขในพระพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 90
หน้าที่ 90 / 298

สรุปเนื้อหา

อบายมุขในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 6 ประเภท รวมถึงการติดสุราเมรัย การเที่ยวกลางคืน การดูการละเล่น การพนัน การคบคนชั่ว และการเกียจคร้านในการทำงาน โดยแต่ละประเภทนั้นมีโทษภัยร้ายแรงแก่ผู้เสพ ดังเช่น การเสพสุราเมรัยที่ทำให้เสียทรัพย์ เสียชื่อเสียง และสุขภาพ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความฉลาดและอนาคตของบุคคล นอกจากนี้ อบายมุขยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรงและทางอ้อม เมื่อผู้คนประสบปัญหาจากการเสพติดเหล่านี้ซ้ำซาก ทำให้สังคมและเศรษฐกิจเสียหายอย่างมาก รวมถึงความต้องการของสังคมในการสร้างคนดีที่มีคุณสมบัติสูงเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมให้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อบายมุขในพระพุทธศาสนา
-ประเภทของอบายมุข
-โทษของการติดสุราเมรัย
-ผลกระทบต่อสุขภาพ
-ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
-คุณสมบัติของคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในพระพุทธศาสนาแบ่งอบายมุขออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ คือ 1) การติดสุราเมรัย รวมทั้งสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ 2) การชอบเที่ยวกลางคืน 3) การติดการดูการละเล่น 4) การติดการพนัน 5) การคบคนชั่วเป็นมิตร 6) การเกียจคร้านในการทํางาน ทำไมอบายมุขจึงเป็นทางแห่งความฉิบหาย แท้ที่จริงนั้นอบายมุขแต่ละอย่างหาคุณไม่ได้เลย มีแต่จะก่อให้เกิดโทษภัยมากมายแก่คนเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโทษของอบายมุขที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เสพคุ้นหรือเกี่ยวข้องไว้อย่าง น้อยประเภทละ 6 ประการ พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้ 1 1) โทษของการเสพสุราเมรัย รวมทั้งสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ มี 6 ประการ ดังนี้ 1.1) ทำให้เสียทรัพย์ทันตาเห็น 1.2) ทำให้เสียอารมณ์ คนอารมณ์เสียเนื่องจากความมึนเมาย่อมชอบก่อการทะเลาะวิวาท กัน ซึ่งในที่สุดก็จะหนีไม่พ้นปัญหาที่ทำให้เสียทรัพย์ตามมาอีก 1.3) ทำให้เสียสุขภาพ เรื่องนี้มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เมื่อ สุขภาพเสีย ผู้เสพก็จำเป็นต้องเสียทรัพย์ซ่อมสุขภาพอย่างไม่น่าจะต้องเสีย 1.4) ทำให้เสียชื่อเสียง ผู้เสพสุรามึนเมา ย่อมควบคุมสติสัมปชัญญะไม่ได้ ย่อมทำกรรม กิเลส 4 ได้เสมอ ซึ่งนอกจากเป็นเหตุให้เสียชื่อเสียงแล้ว ยังต้องเสียทรัพย์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมาอีก 1.5) ทำให้เสียคน ผู้เสพสุรามึนเมาที่ก่อกรรมกิเลส 4 นอกจากจะเสียชื่อเสียง และเสียทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาที่ตนก่อไว้แล้ว ยังอาจต้องกลายเป็นคนหมดอนาคต เสียผู้เสียคนไปอีกด้วย 1.6) ทำให้เสียความฉลาด ฤทธิ์ของน้ำเมา และยาเสพติดทุกประเภท ย่อมทำลายสติ ปัญญาของผู้เสพ ดังที่ปรากฏ ให้เห็นกันโดยทั่วไป ว่าพอเหล้าเข้าปากก็กลายเป็นเสมือนคนปัญญาอ่อน ถ้า เสพไปนานๆ นอกจากจะมีผลให้ปัญญาเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ แล้ว ก็จำเป็นต้องเสียทรัพย์บำบัดรักษากันอีก จากโทษทั้ง 6 ประการที่ยกมากล่าวนี้ นักศึกษาย่อมเห็น แล้วว่าโทษแต่ละประการจะก่อให้ เกิดปัญหากระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของผู้เสพ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมากทีเดียว - สิงคาลกสูตร ที. ปา. มก 16/175/79 บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More