ความเชื่อในโอปปาติกะและการพัฒนาจิต GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 69
หน้าที่ 69 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ว่าด้วยความเชื่อในโอปปาติกะที่เป็นเรื่องของจิตใจคนที่เชื่อมั่นว่านรกสวรรค์มีจริง โอปปาติกะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่สามารถเห็นได้ด้วยทิพยจักษุที่เกิดจากการเจริญสมาธิ การทำความดีมีความสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจ และมีการแบ่งแยกระหว่างผู้ที่มีความเชื่อถูก (สัมมาทิฏฐิ) กับผู้ที่มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของการศึกษาธรรมและฝึกจิตอย่างจริงจังเพื่อให้เห็นความจริงในโลกนี้และโลกหน้า.

หัวข้อประเด็น

-โอปปาติกะ
-ทิพยจักษุ
-นรกและสวรรค์
-การทำดี
-สัมมาทิฏฐิ
-มิจฉาทิฏฐิ
-สมณพราหมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิด หรือโอปปาติกะ ก็คือ ความเห็นที่ว่า “โอปปาติกะมีจริง” เป็นเรื่องสภาพใจของคนที่เชื่อมั่นว่า “นรกสวรรค์มีจริง” เรื่องโอปปาติกะและนรกสวรรค์ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยมังสจักษุ คือตาเนื้อธรรมดา แต่ สามารถเห็นได้ด้วยทิพยจักษุ ซึ่งเกิดขึ้นได้ ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนเกิดประสบการณ์ภายใน ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ถ้าเรายังไม่สามารถเห็นสิ่งเหล่านี้ ก็อย่าด่วนปฏิเสธ แต่ควรจะค้นคว้าหาความจริง ต่อไป ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นบรรลุ “ทิพยจักษุ” เป็นอย่างน้อย เราก็จะได้เครื่องมือวิเศษ สำหรับพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ให้กระจ่างแจ้งได้เอง อย่างไรก็ตาม พระธรรมคำสั่งสอนเรื่องนี้ ได้ให้นัยว่าคนเราต้องทำดีไว้เผื่อเหนียว คือ ต้อง บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เมื่อใจพัฒนาขึ้นตามลำดับๆ แม้ยังไม่บรรลุ ทิพยจักษุ เราก็พอจะตรองได้ด้วยปัญญา จนเกิดความเชื่อมั่นว่า เรื่องโอปปาติกะ และนรกสวรรค์มีจริง ก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตโดยไม่ประมาท บุคคลที่มีความเชื่อมั่นเช่นนี้ ชื่อว่า มีความเห็นถูก เป็น “สัมมาทิฏฐิ” และแน่นอนจิตใจย่อมพัฒนาความรับผิดชอบให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ในทางกลับกัน บุคคลที่มีจิตใจมืดมิดด้วยอำนาจกิเลส ไม่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรม มีความ เชื่อเฉพาะสิ่งที่ตนเห็นด้วยมังสจักษุ สิ่งใดที่ตนไม่เห็นก็จะไม่เชื่อ ไม่คิดจะทำกรรมดีไว้เผื่อเหนียว มีชีวิตอยู่ อย่างประมาท ด้วยการทำกรรมชั่วเป็นอาจิณ บุคคลที่ขาดการพัฒนาใจเช่นนี้ ชื่อว่า มีความเห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” 1.3.10 ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ชนิดที่ ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม สมณพรามหณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม มีความหมายอย่างไร มีอยู่ 2 ประเด็น ที่จะต้องหาความหมายกันก่อน คือ ที่กล่าวว่า “ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง” หมายความว่า เป็นผู้สามารถฝึกตนเองให้เกิดทิพยจักษุ ตลอดจนธรรมจักษุ ชนิดรู้แจ้ง เห็นแจ้งโลก คือความเป็นไปของชีวิตในสังสารวัฏตามความเป็นจริง ส่วนที่ว่า “สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ” หมายถึง สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยความวิริยะอย่างยิ่งยวด จึงทำให้เกิดทิพยจักษุตลอดจนธรรมจักษุ * ปายาสิราชัญญสูตร ที. มหา, มก. 14/308/378 54 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More