การบูชาคุณความดีและผลของการเซ่นสรวง GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 33
หน้าที่ 33 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงพฤติกรรมการจับผิดของบางคน ที่มักมองโลกในแง่ร้ายและไม่ยอมบูชาผู้อื่น นอกจากนี้ยังพูดถึงวิธีการบูชาและเซ่นสรวงผู้ที่ควรยกย่องในพระพุทธศาสนา โดยยกตัวอย่างการทำบุญให้ผู้ล่วงลับและการแสดงความเคารพต่อผู้มีอุปการคุณ รวมถึงการแสดงความรู้สึกแห่งการยกย่องด้วยการนำดอกไม้และสิ่งของไปสักการะ

หัวข้อประเด็น

-การจับผิดผู้อื่น
-ความคิดด้านลบ
-การบูชาบุคคลที่ควรเคารพ
-การเซ่นสรวงในพระพุทธศาสนา
-ผลของการเซ่นสรวง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางคนมีนิสัยชอบจับผิดผู้อื่น จึงไม่เคยค้นหาคุณความดีของใคร นอกจากคอยจ้องหาความ ผิดความบกพร่องของผู้อื่นทุกด้าน ทำให้หลงประเด็นไป จับผิดแม้เรื่องส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ แล้วเห็นว่า ในโลกนี้ไม่มีใครเป็นคนดีถึงขั้นต้องยกย่องบูชากัน บางคนเติบโตมาจากการเลี้ยงดูที่เข้มงวดกวดขันบีบคั้นจิตใจขาดความอบอุ่นถูกลงโทษอย่าง ไร้เหตุผล หรือมิฉะนั้นก็ ได้รับความไม่เป็นธรรมจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ที่ลำเอียง เขาจึงเป็น คนมองโลกในแง่ร้าย เกิดความคิดฝังใจว่า แต่ละคนในโลกนี้ล้วนตีสองหน้า ก้นบึงแห่งจิตใจของแต่ละคน ล้วนโหดร้าย ไร้ความเมตตากรุณา ผู้ที่ทำดีให้ผู้คนเห็นนั้นล้วนแต่เสแสร้งทั้งสิ้น เพราะมีความคิดเช่นนี้ เขา จึงมองไม่เห็นว่าใคร เป็นคนดีที่ควรแก่การยกย่องบูชา แม้ผู้มีอุปการคุณแก่เขาก็ตาม บางคนมีความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง แต่มีศักยภาพและปัญญาต่ำไม่สามารถขับเคลื่อน ตัวเองให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในทุกกรณี เข้าทำนองแข่งแพ้ทุกรอบ คนประเภทนี้จะไม่ยอมยกย่องบูชา ใคร เพราะคิดว่าการทำเช่นนั้นก็เท่ากับเป็น การฉุดตนให้ตกต่ำลงอีก แม้สาเหตุที่แต่ละคนไม่ยอมยกย่อง บูชาบุคคลที่ควรบูชา ดูเหมือนจะแตกต่างกันไปก็ตาม แต่ก้นบึ้งของจิตใจนั้นมาจากสาเหตุเหมือนกัน คือ ความดูเบาและความอิจฉาริษยา ไม่อยากเห็นคนอื่นดีกว่าตนเป็นสำคัญ การบูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงทำอย่างไร การบูชาบุคคลที่ควรบูชา อาจแสดงออกด้วยพฤติกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่นใน กรณีบุคคลที่ควรบูชายังมีชีวิตอยู่ เราก็อาจจะนำดอกไม้ หรือสิ่งของที่เหมาะสมไปสักการะ คือมอบให้ ท่านเพื่อแสดงว่าเรามีความรัก เคารพ ยกย่องเทิดทูนท่าน และเพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านบำเพ็ญคุณความดี ต่อไปอีก แต่สำหรับบุคคลที่ควรบูชา ผู้ล่วงลับไปแล้ว เราก็อาจจะนำพวงมาลาไปสักการะที่อนุสาวรีย์ของท่าน หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเชิญชวนเพื่อนฝูง ญาติมิตรมาร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน ประกาศคุณงาม ความดีของท่านให้โลกรู้ เป็นต้น ในพระพุทธศาสนาเรียกการนำดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของที่เหมาะสมไปสักการบูชาบุคคลว่า “การเซ่นสรวง” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “การเซ่นสรวงมีผล” คือมีผลดี มีประโยชน์ ควรทำ อย่างยิ่ง ใครก็ตามที่เห็นว่า “การเซ่นสรวงไม่มีผล” คือไม่มีประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องทำ ความเห็นผิด ของเขาชื่อว่า “มิจฉาทิฏฐิ” ในทางตรงข้าม ใครก็ตามที่เห็นว่า “การเซ่นสรวงมีผล” ความเห็นถูก ของเขาชื่อว่า “สัมมาทิฏฐิ 18 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More