การบริหารโภคทรัพย์และมิตรแท้ในคฤหัสถ์ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 283
หน้าที่ 283 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงแนวคิดของการแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วนในคฤหัสถ์ และการใช้ตะแกรง 4 ใบในการวิเคราะห์พฤติกรรมของมิตรแท้ โดยเริ่มต้นจากการเช็คพฤติกรรมของตนเองว่าเป็นไปตามที่พระพุทธองค์สอนไหม รวมถึงการป้องกันทิศ 6 ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิต จากการทำความเข้าใจสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน เช่น การมีมิตรแท้ที่มีพฤติกรรมดีซึ่งจะช่วยเสริมสร้างลักษณะที่ดีในตนเอง

หัวข้อประเด็น

-การแบ่งโภคทรัพย์
-มิตรแท้
-พฤติกรรมดี
-ทิศ 6
-การพัฒนาสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถ ครั้นรวบรวมโภคทรัพย์ได้อย่างนี้แล้ว พึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือส่วนหนึ่งใช้สอย 2 ส่วนใช้ประกอบการงาน ส่วนที่ 4 เก็บไว้ด้วยหมายใจว่าจะใช้ยามมีอันตราย จึงผูกมิตรไว้ได้ อธิบายความ : เมื่อพระพุทธองค์ตรัสมิตรแท้ 4 ประเภทจบ เท่ากับพระพุทธองค์ ทรงให้ตะแกรง วิเศษอีก 4 ใบ แต่ละใบมีช่องตะแกรง 4 ช่อง รวมทั้งหมดมี 16 ช่องตะแกรง ทั้ง 4 ใบนี้ ใช้สำหรับร่อนหาพฤติกรรมดีของมิตรแท้ โดยคนแรกที่ต้องนำมาใส่ตะแกรง ร่อนก่อน คือ ตัวเอง หากพบว่าพฤติกรรมของมิตรแท้ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อในตัว ขาดหายไป ให้รีบหาทางเพิ่มพูนโดยเร็ว หลังจากนั้นจึงค่อยร่อนคนอื่น หากพบพฤติกรรม ดีงามของมิตรแท้ในบุคคลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทเดียวกันหรือต่างกันกับของตน ให้ รีบคบหาบุคคลนั้นๆ ไว้เป็นมิตร เพื่อซึมซับเอาพฤติกรรมดีงาม จากมิตรแท้เข้ามาเพิ่มพูน ไว้ในตน 7.7 อทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์ ว่าด้วยการปิดป้องทิศ 6 [266] อริยสาวกเป็นผู้ปิดป้องทิศ 6 เป็นอย่างไร คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ 6 นี้ คือ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พึงทราบว่า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย พึงทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน 268 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More