ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. ความเข้าใจของคนเรามี 2 ระดับ คือ ระดับพื้นผิว กับระดับลึก ซึ่งความเข้าใจระดับพื้นผิว
เป็นความเข้าใจทั่วไปทางกายภาพ มีผลทางด้านจิตใจเล็กน้อย ถ้าเข้าใจถูกต้อง ก็ไม่มีผลให้คน
เราได้ขึ้นสวรรค์ ถ้าเข้าใจผิด ก็ไม่มีผลให้คนเราตกนรก ความเข้าใจพื้นผิวนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในใจแล้ว
มักจะมั่นคงในใจ เพราะถูกนำมาทำบ่อยๆ จนกลายเป็นนิสัย ส่วนความเข้าใจระดับลึก ซึ่งมีชื่อ
ว่า “สัมมาทิฏฐิ” เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิตตามจริง ซึ่งมีสาระ
สำคัญที่สุดอยู่ 10 ประการ เช่น กฎแห่งกรรมมีจริง เป็นต้น ความเข้าใจระดับลึกนี้มีผลต่อจิตใจ
มาก ถ้าเข้าใจถูก ก็ดำเนินชีวิตถูก ทำให้มีสุขทั้งภพนี้ และภพหน้า แต่ถ้าเข้าใจผิด ก็ทำให้ดำเนิน
ชีวิตผิด ทำให้มีทุกข์ทั้งภพนี้และภพหน้า อีกทั้งความเข้าใจระดับลึก หรือสัมมาทิฏฐิทั้ง 10 ประการ
เมื่อศึกษาจนเข้าใจแล้ว ไม่นานก็มักจะลืมเลือนไปจากใจ เนื่องจากไม่ถูกนำมาใช้
2. บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวรจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ย่อมเกิด
ปัญญาเข้าใจกฎแห่งกรรมเป็นอย่างดี และเป็นพื้นฐานให้มีความสำนึกรับผิดชอบ 4 ประการ คือ
ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ความสำนึกรับผิดชอบต่อ
ศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
3. บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรี
แห่งความเป็นมนุษย์ของตนเสมอ ด้วยการไม่ประพฤติกรรมกิเลส 4 อย่างเด็ดขาด นี่คือความ
สำนึกรับผิดชอบประการแรก และเป็นคุณสมบัติข้อแรกของคนดีที่โลกต้องการ
4. บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรี
แห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคมเสมอ ด้วยการเว้นขาดจากอคติ นี่คือความรับผิดชอบ
ประการที่ 2 และเป็นคุณสมบัติประการที่ 2 ของคนดีที่โลกต้องการ
5. บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรม
ทางเศรษฐกิจเสมอ ด้วยการเว้นขาดจากอบายมุขทั้งปวง นี่คือความรับผิดชอบประการที่ 3 และ
เป็นคุณสมบัติประการที่ 3 ของคนดีที่โลกต้องการ
6. ความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ ความสำนึกรับผิดชอบ
ต่อบุคคลที่แวดล้อมตัวเรา และความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ บุคคลที่มี
สัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลที่แวดล้อมด้วยการ
บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ
DOU 63