คุณค่าของการทำทานในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 27
หน้าที่ 27 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อภิปรายเกี่ยวกับความเชื่อในการทำทาน โดยแยกแยะระหว่างมิจฉาทิฏฐิที่มองว่าการทำทานไม่มีผล กับสัมมาทิฏฐิที่เห็นว่าการทำทานมีคุณค่าทางจิตใจและสังคม คนที่มีเมตตาจิตจะเห็นคุณค่าของการแบ่งปันและทำให้สังคมพัฒนาในทางที่ดี ในขณะที่มิจฉาทิฏฐิชนกลับถูกความโลภและความเห็นผิดทำให้มืดมน ไม่ทำทานและไม่เห็นคุณค่าในการช่วยเหลือผู้อื่น การพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มต้นจากการมีจิตใจที่ดีและความเข้าใจในธรรมะ รายละเอียดเกี่ยวกับการปลูกฝังเมตตาจิตและการกระตุ้นให้คนในสังคมเห็นถึงความสำคัญของการให้ จะส่งผลดีต่อสังคมในภาพรวม.

หัวข้อประเด็น

-คุณค่าของการทำทาน
-มิจฉาทิฏฐิ vs สัมมาทิฏฐิ
-การพัฒนาจิตใจผ่านการให้
-ผลของการทำทานต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แก่ผู้คนทั้งสังคมได้ นี่คือโทษภัยร้ายแรงของการที่คนเรามองไม่เห็นคุณค่าของการทำทาน หรือการแบ่งปันกัน ความเห็นที่ว่า การทำทานไม่เกิดประโยชน์อะไร หรือไม่มีผลดีแก่ตัวผู้ให้ ในทางธรรมมีสำนวนว่า “ทานไม่มีผล” ใครก็ตามที่มีความเห็นเช่นนี้ ความเห็นผิดของเขาชื่อว่า “มิจฉาทิฏฐิ” บรรดามิจฉาทิฏฐิชน ย่อมไม่ทำทานแม้กับพระภิกษุสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เพราะมี ความเห็นว่าพระภิกษุเป็นผู้เอาเปรียบเบียดเบียนสังคม ตั้งตนเป็นผู้รับฝ่ายเดียว มิได้เป็นผู้ให้ ความเห็น มิจฉาทิฏฐิของเขา ทำให้จิตใจของเขามืดมัวจนตรองไม่ออกว่า พระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย คือ ครูผู้สอนวิชาความเป็นมนุษย์ให้แก่ศาสนิก การให้ธรรมะของพระภิกษุนั้น มีคุณค่ายิ่งใหญ่กว่าจตุปัจจัย ไทยธรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ศาสนิกแต่ละคนถวายให้ท่านอย่างเทียบกันไม่ได้เลย แต่การที่มิจฉาทิฏฐิชนไม่ได้ รับรสพระธรรมจากสงฆ์โดยตรงเอง ก็เพราะตนไม่รู้จักแสวงหาใช่หรือไม่ กรณีเช่นนี้จะโยนความผิดไปให้ สงฆ์ย่อมไม่ถูกต้อง ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่เห็นว่า “ทานมีผล” คือมีผลดีจริง มีประโยชน์จริงทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน ในลักษณะแบ่งปัน คือ ปันกันกิน ปันกันใช้ ปันกันอยู่ (ไม่พยายาม หาทางครอบ ครองที่ดินไว้เป็นสมบัติของตนอย่างมากมายแต่ผู้เดียว โดยไม่คำนึงถึงผู้ขัดสนยากไร้ ที่ไม่มีที่ดินทำมาหากิน หรืออยู่อาศัย) หรือการทำทานในพระพุทธศาสนาก็ตาม แล้วตั้งใจทำทานเป็นนิสัย ตลอดจนชักชวนชี้แนะ ผู้อื่น ให้เห็นคุณค่าของการทำทาน ความเห็นถูกเช่นนี้ชื่อว่า “สัมมาทิฏฐิ” สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องทาน ก็คือ ความเห็นที่ว่า “การทำทานมีผล” นั้น เป็นเรื่องสภาพ ของใจคนที่กอปรด้วย “เมตตาจิต” กล่าวคือ เมื่อตนเองมีความสุข เนื่องจากมีความสะดวกสบายด้วย เรื่องปัจจัย 4 มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนมีอุปกรณ์ต่างๆ ในการประกอบสัมมาอาชีพ มีความรู้สึก ปลอดภัยในชีวิต มีธรรมะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามจริง จึงคิดอยากให้ ผู้อื่นเป็นเช่นตนบ้าง ด้วยการแบ่งปันสิ่งที่ตนมีให้ สภาพจิตใจเช่นนี้เป็นจิตที่พัฒนาความรับผิดชอบต่อผู้ อื่นขึ้นมาในระดับหนึ่ง ครั้นเมื่อทำทานจนเกิดเป็นนิสัย ก็ตระหนักได้เองว่า “การทำทานมีผลดีจริงๆ นะ” บุคคลที่มีสภาพจิตใจกอปรด้วยเมตตาจิตเช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นถูกเป็น “สัมมาทิฏฐิ” ในทางกลับกัน บุคคลที่มีจิตใจมืดมนอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ถูกอำนาจความโลภ ความโกรธ ความ หลง เอิบอาบ ซึมซาบจิตใจ กัดกร่อน บีบคั้นจิตใจให้คิดตระหนี่ถี่เหนียว รู้มาก เอาเปรียบคนอื่น เห็นแก่ตัว ยิ่งมียิ่งอยากได้ มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต ถ้าไม่ได้กอบโกยทรัพย์สินรอบข้างมาเป็นของตน ไม่มี ความรู้ธรรมะเพราะห่างไกลบัณฑิต จึงเห็นผิดด้วยเรื่องต่างๆ เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี คิดเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลไม่ออก จึงขาดโยนิโสมนสิการ คิดเห็นว่าการทำทานไม่มีผล จึงไม่คิดแบ่งปันอะไรๆ ให้ใครทั้งสิ้น บุคคลที่จิตขาดเมตตาธรรม และความรับผิดชอบต่อผู้อื่นเช่นนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” 12 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More