การปลูกฝังลักษณะนิสัยและธรรมะสำหรับเด็ก GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 236
หน้าที่ 236 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปลูกฝังลักษณะนิสัยและธรรมะในเด็กในระดับต่าง ๆ โดยเริ่มจากเด็กทารกจนถึงเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา นักเรียนต้องได้รับการปลูกฝังทั้งในภาคปฏิบัติและทฤษฎี เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง ตั้งแต่การสร้างคุณธรรมในเด็กเล็ก เช่น ความเมตตา ไปจนถึงการเจริญสมาธิในระดับเยาวชน การรวมกิจกรรมทางศาสนาและการเป็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครองถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีและธรรมะในเด็กและเยาวชนในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังลักษณะนิสัย
-การปฏิบัติธรรม
-ธรรมะสำหรับเด็ก
-การศึกษาไทย
-วัฒนธรรมชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. การปลูกฝังลักษณะนิสัยควบคู่กับการปฏิบัติ 3. การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติควบคู่กับภาคทฤษฎี 4. การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน 1. การปลูกฝังให้เกิดเป็นลักษณะนิสัย การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเด็กทารกทั่วไป ขณะ ที่ยังไม่เข้าโรงเรียน สิ่งที่จะนำมาปลูกฝังคือศีล และคุณธรรมความดีต่างๆ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยรักบุญ กลัวบาป รักความดีเกลียดความชั่ว ตลอดจนวัฒนธรรมชาวพุทธเท่าที่เด็กจะสามารถทำได้ เช่น อบรมสั่ง สอนให้เด็กมีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนและต่อสัตว์ ไม่รังแกเพื่อน ไม่รังแกสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อย ด้วยความสนุก สนาน ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ รู้จักกราบพระพุทธรูป กราบไหว้พระสงฆ์ กราบไหว้ มารดาบิดา และผู้ใหญ่ รู้จักทำบุญใส่บาตร การสวดมนต์บทสั้นๆ ฯลฯ การสอนวัฒนธรรมชาวพุทธที่ได้ ประโยชน์จริง โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องเตรียมการให้เหนื่อยยาก คือ การพาเด็กๆ ไปร่วมกิจกรรมทางศาสนา ที่วัดบ่อยๆ ขณะที่อยู่บ้านพ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กดูอยู่เสมอ 2. การปลูกฝังลักษณะนิสัยควบคู่กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การปลูกฝังด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเด็กระดับอนุบาลและประถมต้น เนื้อหาสาระของธรรมะที่นำมาปลูกฝังอบรม ควรเป็น เนื้อหา ธรรมะจากสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ บางข้อที่นำมาแปลง เป็นภาคปฏิบัติได้ และเนื้อหาธรรมะหมวดอื่นที่ ส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ และสามารถนำมาแปลงเป็นภาคปฏิบัติได้ เช่น บุญกิริยาวัตถุ 3 ธรรมะ 2 ข้อแรก ใน สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการสวดมนต์บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งในภาคภาษาไทย และบาลีโดยจัดให้เหมาะสมกับวัย และความรู้ด้านภาษาของเด็ก และการเจริญสมาธิภาวนา สำหรับเด็กระดับประถมปลาย ก็ยังคงเน้นการปลูกฝังลักษณะนิสัย ควบคู่กับการปฏิบัติ แต่ เนื้อหาสาระของธรรมที่นำมาปลูกฝังจะมากขึ้น 3. การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติควบคู่กับภาคทฤษฎี การปลูกฝังด้วยวิธีนี้เหมาะกับ เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติ มีความหมาย 2 ประการ คือ 3.1 การนำธรรมะภาคทฤษฎีที่เรียนในชั้นเรียนมาปฏิบัติจริง ในขณะที่อยู่ในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาในแต่ละวัน 3.2 การเจริญสมาธิภาวนา อนึ่ง การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติในระดับนี้ ก็ยังมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การปลูกฝังลักษณะนิสัย กิจกรรมต่างๆ ควรมีลักษณะสืบเนื่อง และสอดคล้องกับการปลูกฝังในข้อ 2 ที่ผ่านมา ส่วนการปลูกฝังธรรมะภาคทฤษฎีนั้น คือ การศึกษาธรรมะในหมวดต่างๆ ตามที่ได้นำเสนอไว้ ในบทที่ 4 โดยกระจายหมวดธรรมเข้าไปในหลักสูตรของชั้นเรียนระดับต่างๆ ทั้งในระดับมัธยมศึกษา และ อุดมศึกษาตามความเหมาะสม สำหรับวิธีการเรียนการสอนนั้น คณาจารย์จะดำเนินการอย่างไรย่อมได้ทั้งสิ้น บ ท ที่ 6 บ ท ส รุ ป DOU 221
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More