ข้อความต้นฉบับในหน้า
บุคคลที่มีความเห็นถูกตามสัมมาทิฏฐิ 10 ประการนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีความ “เข้าใจ” สัมมา
ทิฏฐิ 10 ประการเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง และยังไม่ได้ศึกษาธรรมะหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ถึงขั้นที่เรียกได้ว่า มีสัมมาทิฏฐิ “เข้า
ไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร” ก็ยังไม่ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิบุคคล หรือ สัมมาทิฏฐิชน ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจน
เกิดเป็นลักษณะนิสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะสังเกตได้จากการทำทานเป็นกิจวัตร การรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์
บริบูรณ์ และการขวนขวายพากเพียรทำสมาธิภาวนาอยู่เป็นนิจ โดยสรุปก็คือ เป็นผู้ที่ตั้งใจสั่งสมบุญกุศล
อยู่เสมอ โดยไม่ทำบาปอกุศลใดๆ เลย จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิบุคคล หรือ สัมมาทิฏฐิชน
ทั้งนี้เพราะสัมมาทิฏฐิในระดับ “เข้าใจ” แต่ยัง “ไม่เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง” นั้นย่อมแปร
เปลี่ยนไปเป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้โดยง่าย
6.1.3 ความหมายของมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ หมายถึงอะไร
มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโลกและชีวิต ตามความเป็นจริง เป็นความเข้าใจ
ผิด ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจถูก คือ สัมมาทิฏฐิ 10 ประการ มิจฉาทิฏฐิก็มีอยู่ 10 ประการเช่นกัน คือ
มีความเข้าใจผิดในเรื่องต่อไปนี้
1. การทำทานไม่มีผลดี ไม่จำเป็นต้องทำ
2. การสงเคราะห์ไม่มีผลดี ไม่จำเป็นต้องทำ
3. การบูชาบุคคลที่ควรบูชาไม่มีผลดี ไม่จำเป็นต้องทำ
4. ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วที่บุคคลทำแล้วไม่มี จึงไม่เชื่อกฎแห่งกรรม แต่เชื่อว่าความ
ไม่แน่นอนของชีวิตล้วนเป็นเรื่องโชคชะตา หรือหมายถึง เชื่อเรื่อง ดวง นั่นเอง
5. ไม่รู้และไม่เข้าใจว่า โลกนี้มีคุณอย่างไร
6. ไม่รู้และไม่เข้าใจว่า มีโลกหน้า จึงคิดว่าตายแล้วสูญหมด
7. ไม่รู้คุณมารดา จึงไม่มีกตัญญูกตเวทิตาต่อมารดา
8. ไม่รู้คุณบิดา จึงไม่มีกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดา
9. ไม่รู้และไม่เข้าใจว่า มีโอปปาติกะ นั่นคือไม่เชื่อว่ามีนรกสวรรค์
10. ไม่รู้และไม่เชื่อว่า โลกนี้มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ผู้สามารถทำให้แจ้งโลกนี้
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม นั่นคือ ไม่มีความเคารพนับถือ
พระรัตนตรัย
212 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก