ข้อความต้นฉบับในหน้า
12) โอวาทปาฏิโมกข์
13) พระรัตนตรัย
14) อริยสัจ 4
15) กําเนิด 4
16) ปฏิรูปเทส 4
17) วุฒิธรรม 4
18) อิทธิบาท 4
19) สัมมาทิฏฐิ 10
20) มิจฉาทิฏฐิ 10
21) ฆราวาสธรรม 4
22) เรื่องราวจากชาดก ธรรมบท และประวัติพระมหาสาวกทั้งปวง เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้จะ
ช่วยส่งเสริมผู้รับการอบรม ให้เกิดความเข้าใจธรรมะหมวดต่างๆ ได้ดีขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิต
จริงของบุคคล
4.1.2. การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็น “บัณฑิต” ของผู้ให้การปลูกฝังอบรม
การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็น “บัณฑิต” หมายถึงอะไร
การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็น “บัณฑิต” ในบริบทนี้หมายถึง ผู้ให้การอบรมเด็กๆ ซึ่ง
โดยทั่วไปได้แก่ ผู้เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ครูอาจารย์ ผู้ใหญ่ทุกๆ คน ตลอดถึงพระภิกษุ จะต้อง
พัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ การอบรมคุณความดีแก่เด็กๆ
ทำไมจึงต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิต
สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิต ก็เพราะว่าผู้มีหน้าที่ให้การอบรมใน
สังคมไทยจำนวนมาก ยังบกพร่องในด้านคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิตอยู่หลายประการ ความบกพร่อง
ประการหนึ่งที่ทำให้เกิดผลเสียหายขึ้นในสังคมไทยเสมอมา จนกลายเป็นเสมือนธรรมเนียมปฏิบัติของผู้คน
ในสังคมก็ว่าได้ นั่นคือ ผู้ใหญ่ส่วนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง (รวมทั้งครูอาจารย์
บางท่าน) ไม่ยินดีที่จะตอบคำถามของเด็กๆ ยิ่งเมื่อถูกเด็กเล็กๆ ช่างคิดช่างพูด ช่างซักถามปัญหาด้วย
แล้ว ผู้ใหญ่มักจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ จึงตัดความรำคาญด้วยการตำหนิติเตียนเด็กๆ เหล่านั้นว่าพูดเรื่อง
ไร้สาระบ้าง สั่งให้พูดน้อยๆ ลงบ้าง ที่ร้ายกว่านี้คือพ่อแม่ ผู้ปกครองบางรายถึงกับแสดงอาการเกรี้ยว
กราดตวาดเด็ก ไม่ให้ช่างซักถาม
134 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก