เครือข่ายกัลยาณมิตรในชุมชนไทยโบราณ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 240
หน้าที่ 240 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจบทบาทของเครือข่ายกัลยาณมิตรในชุมชนไทยโบราณ ซึ่งวัดและพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมความรู้และวัฒนธรรม รวมถึงการให้ธรรมะเป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชน ทำให้ชุมชนมีความสุขและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยที่แต่ละสถาบันจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน และทำให้แต่ละบุคคลมีสัมมาทิฏฐิ ความดีภายในใจ ส่งผลให้เกิดความสงบสุขในสังคมไทย ผลงานนี้ยืนยันว่าความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง และมั่นคงสำหรับอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทวัดในชุมชน
-ความสำคัญของพระสงฆ์
-เครือข่ายกัลยาณมิตร
-อริยวินัยในชุมชน
-การพัฒนาและความสงบสุขในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของหมู่บ้านหรือชุมชน วัดไทยสมัยโบราณจึงเป็นทั้งศูนย์รวมวิทยาการต่างๆ และวัฒนะธรรมในด้านต่างๆ ของชุมชน ที่สำคัญยิ่งก็คือ พระสงฆ์ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นศูนย์รวมใจ โดย การให้ธรรมะเป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชนทั้งหมดคือความเป็นเครือข่ายกัลยาณมิตรระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ในสมัยโบราณ ซึ่งต่างฝ่ายต่างได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ทิศ 6 แต่ละทิศสามารถปฏิบัติหน้าที่อัน เป็นอริยวินัยของตนโดยไม่บกพร่อง เหตุใดเครือข่ายกัลยาณมิตรจึงเอื้อให้ทิศ 6 สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยไม่บกพร่อง จุดสำคัญเริ่มที่ทิศเบื้องบน กล่าวคือเมื่อทิศเบื้องบนสามารถทำหน้าที่ อันเป็นอริยวินัยได้ครบ ทั้ง 6 ประการ (ได้กล่าวแล้วในบทที่ 4) ย่อมส่งผลให้ญาติโยมในอีก 5 ทิศ ได้รับรสพระธรรมหล่อเลี้ยง จิตใจอยู่เสมอ ย่อมมีศรัทธามั่นในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธามั่นในคำสั่งสอนทั้ง ปวงของพระองค์ ถึงแม้ญาติโยมส่วนมากจะอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ก็ได้เรียนรู้ธรรมจากการฟังเทศน์ ทำให้เชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรม เรื่องนรก สวรรค์ ต่างคนจึงต่างพากเพียรละกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดีทุกรูปแบบ ที่สำคัญคือ การทำทาน รักษาศีล 5 หรือศีล 8 ตลอดถึงการเจริญสมาธิภาวนา จนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ประจำตัวประจำใจ นั่นคือ แต่ละคนล้วนเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง แน่นอนที่สุดว่า เมื่อผู้คนในอีก 5 ทิศ ต่างเป็นคนดีมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ ก็ย่อมจะ สามารถปฏิบัติหน้าที่อันเป็นอริยวินัยได้อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง อานิสงส์ หรือผลดีที่เกิดตามมาก็คือ สันติสุข ในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม และประเทศชาติในที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงได้กล่าวว่า เครือข่ายกัลยาณมิตร คือ คำตอบสุดท้าย 6.4.1 การพึ่งพากันระหว่างเครือข่ายกัลยาณมิตร เครือข่ายกัลยาณมิตรมีการพึ่งพากันอย่างไร เครือข่ายกัลยาณมิตรมีการพึ่งพากันเฉกเช่นอุปกรณ์ “สามขา” แต่ละขาต่างมีแรงพยุงซึ่งกัน และกันให้ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นดิน (โดยไม่ต้องขุดหลุม) ได้อย่างมั่นคง ไม่ล้มครืนลงมา อีกทั้งสามารถ รองรับน้ำหนักที่วางอยู่เบื้องบนอุปกรณ์สามขานั้นได้นานเท่านานฉันใด เครือข่าย กัลยาณมิตร 3 สถาบัน ดังกล่าวก็ฉันนั้น กล่าวคือ แต่ละสถาบัน จะมีศักยภาพพยุงและประคับประคองส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้ ทั้งแต่ละสถาบันและเครือข่าย สามารถธำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง เพื่อเป็นพื้นฐาน สำคัญด้านสังคม อันเป็นส่วนส่งเสริม ความมั่นคงและการพัฒนาประเทศชาติ ดังที่บรรพบุรุษไทยได้เคยกระทำในแต่ละยุค แต่ละสมัยตลอดมา อุปกรณ์สามขานี้ ถ้าแต่ละขาแยกกันอยู่อย่างเอกเทศ ย่อมต้องถูกวางนอนไปตามแนวราบ เพราะ ไม่สามารถตั้งขึ้นได้ ใครจะเดินข้ามไปข้ามมาย่อมทำได้ ข้อนี้ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจดี ยิ่งกว่านั้นในไม่ช้า ขา เหล่านั้นก็อาจจะกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ กลายเป็นเศษเหล็กหรือเศษไม้ที่ไร้ค่าไป หรือแม้อุปกรณ์ บ ท ที่ 6 บ ท ส รุ ป DOU 225
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More