ความจําเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้มั่นคง GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 81
หน้าที่ 81 / 298

สรุปเนื้อหา

การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิในจิตใจมีความจำเป็นในการพัฒนานิสัย ที่ช่วยให้บุคคลมีความเข้าใจกฎแห่งกรรม และเห็นคุณค่าในชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถตั้งสติและพัฒนาความรับผิดชอบในสังคมและเศรษฐกิจได้ สัมมาทิฏฐิจะทำให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีในความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตนเองในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-ความจำเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ
-ผลของสัมมาทิฏฐิต่อความรับผิดชอบ
-ความรับผิดชอบต่อศักดิ์แห่งความเป็นมนุษย์
-ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.2 ความจําเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้มั่นคง ทำไมจึงต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้เกิดเป็นลักษณะนิสัย บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร จนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ย่อมเกิด ปัญญาเข้าใจกฎแห่งกรรมเป็นอย่างดี จึงมองเห็นโทษของการทำผิดศีล การมีอคติ การเข้าไป เกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุข ขณะเดียวกันก็มองเห็นคุณค่า และความสำคัญของบุคคล และสิ่ง แวดล้อมเป็นอย่างดี เมื่อตระหนักถึงโทษ และคุณค่าของสิ่งต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ก็จะเป็นผลให้บุคคลนั้น 1. ตั้งสติได้มั่นคง ไม่ยอมให้มิจฉาทิฏฐิย้อนกลับมาครอบงำจิตใจอีก 2. พยายามพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบให้เพิ่มพูนในจิตใจยิ่งขึ้น ไม่ยอมพอใจหยุดยั้งแต่ เพียงที่มีอยู่เดิมเท่านั้น นี่คือ เหตุผลว่าทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจ ของทุกๆ คน ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวอย่างมั่นคงถาวรต่อไป 2.3 สัมมาทิฏฐิ คือปัจจัยหลักซึ่งก่อให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบ สัมมาทิฏฐิจะมีศักยภาพในการพัฒนาบุคคลให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบด้านใดบ้าง ความสำนึกรับผิดชอบซึ่งจะสามารถพัฒนาขึ้นในจิตใจบุคคล โดยมีพื้นฐานมาจากสัมมาทิฏฐิ ที่เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประการ คือ 1. ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง 2. ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม 3. ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ 4. ความสํานึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 2.3.1 ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง บุคคลที่มีความสำนึกรับผิดชอบประการที่ 1 นี้ มีความคิดเห็น และพฤติกรรมอย่างไร บุคคลที่มีความสำนึกรับผิดชอบประการที่ 1 นี้ มีความคิดเห็นถูกว่า การปล่อยตัวปล่อยใจให้ ทำอะไรตามอำนาจของกิเลสที่เรียกว่ากรรมกิเลส 4 ไม่ว่าประการใดประการหนึ่ง หรือ ทั้ง 4 ประการ ย่อม มิใช่พฤติกรรมของมนุษย์ผู้มีใจสูง ใครก็ตาม ที่ประพฤติกรรมกิเลส 4 ย่อมหมดศักดิ์และศรีแห่งความเป็น มนุษย์ กลายเป็นมนุษย์ที่ตกอยู่ใต้อำนาจมิจฉาทิฏฐิ จึงมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับดิรัจฉาน เมื่อเกิดความเห็น ถูกเช่นนี้ บุคคลจึงเกิดความสำนึกรับผิดชอบในศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ด้วยการไม่ ยอมประพฤติกรรมกิเลส 4 อย่างเด็ดขาด 66 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More