ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะเหตุนี้สำหรับผู้ครองเรือนทุกท่านจะต้องพากเพียรปฏิบัติ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย 2 ระดับ
แรกเสียก่อน
วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ 1 มีอยู่ 4 ประการ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ชาว
พุทธไทยตั้งแต่สมัยโบราณ กาลว่า อุ-อา-ก-ส หรือบางทีก็เรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” ส่วนในตำราพระพุทธ
ศาสนาเรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์”
อันที่จริงวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับต้น ก็คือ การทำมาหากินเลี้ยงชีวิตตามธรรมดา
ซึ่งคนเราทุกคนต้องปฏิบัตินั้นเอง คือ หาเป็น เก็บเป็น คบคนดีและสร้างเครือข่ายคนดีเป็น และใช้เป็น
แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาสำหรับวิธีปฏิบัติทั้ง 4 นี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คุณวิเศษของการปฏิบัติ
ทุกขั้นตอนต้องมีธรรมะกำกับตลอด นับตั้งแต่การหาก็ต้องหาอย่างสุจริตและชอบธรรม การเก็บก็ต้องมี
ธรรมะกำกับอีก คือ ทั้งเก็บเป็นทรัพย์หยาบและทรัพย์ละเอียด
การใช้ที่ต้องมีธรรมกำกับอีกคือ แทนที่จะใช้ทรัพย์เพื่อหาความสนุกรื่นเริงบันเทิงใจ ด้วย
เรื่องกามคุณอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช เหมือนผู้คนที่ไม่มีธรรมะนิยมปฏิบัติกันทั่วโลกตลอดมา พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้ทรัพย์ด้วยวิธีจากสัมปทาในรูปแบบต่างๆ เพื่อว่าการใช้ทรัพย์อันก่อให้เกิดบุญกุศล
เช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกปลาบปลื้มใจตลอดเวลา จนถึงวาระสุดท้ายแห่งลมหายใจ
ในบรรดาการปฏิบัติทั้ง 4 วิธีของหัวใจเศรษฐีนี้ ข้อที่สำคัญที่สุด ก็คือ การสร้างเครือข่าย คนดี
หรือเครือข่ายกัลยาณมิตรหรือมิตรแท้ขึ้นในหมู่บ้าน หรือชุมชน เพราะเครือข่ายคนดีนี้เองที่จะเกื้อกูล
ให้การปฏิบัติอีก 3 วิธีถูกกำกับด้วยธรรมะโดยตลอด
วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ 2 มีอยู่ 4 ประการเหมือนกัน คือ สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา ในตำราพระพุทธศาสนาเรียกธรรม 4 ประการนี้ว่า “สัมปราย
กัตถประโยชน์”
การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ 2 จำเป็นจะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปกับการทำมาหากิน
โดยไม่ต้องคอยให้ตั้งตัวเป็นหลักฐานมั่นคงเสียก่อน เพราะถ้าบังเอิญเราต้องตาย เสียก่อนที่จะบรรลุ
เป้าหมายชีวิตระดับที่ 1 เราก็คงไม่มีโอกาสได้บำเพ็ญสัมปรายิกัตถประโยชน์ นั่นคือ เรายังไม่ได้เปิดประตู
สวรรค์ แล้วจะมีใครเปิดให้เราได้
จากเรื่อง อุ-อา-ก-ส นั้น นักศึกษาย่อมได้เห็นแล้วว่า มีหลักธรรมสัมปรายิกัตถประโยชน์
ผสมผสาน กลมกลืนอยู่ทุกข้อ
หมู่บ้านหรือชุมชนใดมีเครือข่ายกัลยาณมิตรเข้มแข็ง หมู่บ้านนั้นย่อมมีมิตรแท้มากกว่ามิตรเทียม
หรืออาจจะไม่มีมิตรเทียมเลย ไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ตาม ผู้คนในหมู่บ้านย่อมสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วย
หลักธรรม อุ-อา-ก-ส- ควบคู่กันไปกับการบำเพ็ญสัมปรายิกัตถประโยชน์ ซึ่งบางคนอาจจะมั่งคั่ง ร่ำรวย
บางคนอาจจะไม่ร่ำรวย แต่ก็ชื่อว่าตั้งหลักฐานได้ ที่สำคัญคือบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ ก็สามารถอยู่ร่วมกันใน
บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณ สมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 125