การวางตนที่เหมาะสมกับฐานะ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 214
หน้าที่ 214 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของพ่อแม่ ลูก หรือครูอาจารย์ การรู้จักวางตนจะช่วยให้เรามองเห็นคุณค่าของผู้คนรอบข้าง และปฏิบัติต่อกันด้วยความเข้าใจ การมีความยินดีในความสำเร็จของคนอื่น จะช่วยพัฒนาให้สังคมมีความสงบสุขมากขึ้น เมื่อทุกคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่ดี เช่น พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ส่วนลูกต้องช่วยเหลือและเคารพพ่อแม่และครูต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนดีและไม่ทำกรรมชั่ว

หัวข้อประเด็น

-การวางตนให้เหมาะสม
-บทบาทของพ่อแม่
-บทบาทของลูก
-บทบาทของครู
-ความสำคัญของความยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพื่อช่วงชิงตำแหน่งของเพื่อนมาเป็นของตน แต่ทว่าเขาจะมีความรู้สึกยินดี และแสดงออกให้เพื่อนผู้โชคดี ได้รับรู้ว่า เขามีความยินดีอย่างจริงใจ ที่เห็นเพื่อนมีบุญวาสนา การแสดงออกเช่นนี้ นอกจากจะก่อให้เกิด ความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ยังจะทำให้เกิดความสบายใจทั้งสองฝ่ายอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น บางคนนอกจากไม่มีบุญวาสนามาส่งเสริมแล้ว บาปอกุศลยังตามมาให้ผลถึงขั้นตก ทุกข์ได้ยาก บางรายถึงขั้นล้มละลายก็มี บุคคลที่มีความเข้าใจซึ้งในกฎทั้ง 2 นั้น ย่อมมีสติตั้งรับ สถานการณ์ได้ด้วยความทรหดอดทน สามารถประคองชีวิตให้ตั้งอยู่ในความดีได้ ไม่ปล่อยให้อำนาจกิเลส ที่นอนเนื่องอยู่ในใจ เข้ามาชักพาชีวิตให้ตกลงไปเกลือกกลั้วกับความชั่วร้ายต่างๆ เฉกเช่นมิจฉาทิฏฐิชน ทั้งหลาย หรือถึงขั้นตัดสินประหารชีวิตตนเอง เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่จะ เป็นการสร้างปัญหาอุกฤษฎ์ข้ามภพข้ามชาติต่อไปอีก โดยสรุปก็คือ ใครก็ตามที่ได้ดิบได้ดีแล้ว จะต้องไม่ประพฤติตนเป็นวัวลืมตีน หรือคนที่เห็น พรรคพวกเพื่อนฝูงญาติพี่น้องได้ดิบได้ดี ก็มีความยินดีอย่างจริงใจต่อเขา หรือคนที่ประสบวิบากกรรมก็มี สติประคองตนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม เหล่านี้คือพฤติกรรมของ “ผู้ทำตนเสมอต้น เสมอปลาย 2) วางตนเหมาะสมกับฐานะ ภาวะ บุคคล และสถานการณ์ วางตนเหมาะสมกับฐานะ ภาวะ บุคคล และสถานการณ์มีความหมายอย่างไร ความหมายของการวางตนเหมาะสมกับฐานะๆ ก็คือ “ทำตัวให้สมกับที่ตัวเป็น” กล่าวคือ สำหรับในเรื่องฐานะนั้น สิ่งแรกให้แต่ละคนนึกถึง ว่าตนเองมีฐานะเป็นอะไรในทิศ 6 (ซึ่งแต่ละคนย่อมมีอยู่หลายฐานะ) ลำดับต่อไปก็ให้นึกถึงหน้าที่อันเป็นอริยวินัยของตนแล้ว ปฏิบัติตนตาม หน้าที่แห่งฐานะของตนให้ถูกต้องสมบูรณ์ เช่น ถ้าตัวเราอยู่ในฐานะพ่อแม่ ก็ต้องทำตัวให้สมกับฐานะที่เป็นพ่อแม่ หน้าที่อย่างหนึ่งใน 5 อย่าง ของพ่อแม่ ที่จะต้องปฏิบัติต่อลูก ก็คือห้ามลูกไม่ให้ทำชั่ว เพราะฉะนั้นตัวเราก็ต้องไม่ดุด่าลูกด้วยคำหยาบ คาย ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่เที่ยวกลางคืนให้ลูกดู เป็นต้น ถ้าตัวเราอยู่ในฐานะลูก ก็ต้องทำตัวให้สมกับฐานะที่เป็นลูก หน้าที่อย่างหนึ่งใน 5 อย่างของ ลูก ที่จะต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่ก็คือ ช่วยทำการงานของพ่อแม่ เพราะฉะนั้นตัวเราก็ต้องมีความยินดีและเต็มใจ ช่วยทำการงานตามที่พ่อแม่มอบหมาย ตามความเหมาะสมแก่วัยและความรู้ความสามารถของเรา โดยถือว่า เป็นความรับผิดชอบของเรา ที่จะต้องทำงานนั้นให้แล้วเสร็จอย่างดีที่สุด เป็นต้น ถ้าตัวเราอยู่ในฐานะครูอาจารย์ ก็ต้องทำตัวให้สมกับฐานะที่เป็นครูอาจารย์ หน้าที่สำคัญ มากอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง ของครูอาจารย์ ที่จะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ก็คือ ฝึกฝนแนะนำศิษย์ให้เป็นคนดี ตัวเราก็ต้องไม่ทำชั่ว ไม่ทำผิดศีลให้ปรากฏ เป็นต้นว่า ไม่ทุบตีศิษย์ราวกับว่าศิษย์เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อ ศิษย์ทำผิด ไม่ฉ้อโกงงบประมาณของรัฐ เพื่อจัดทำโครงการด้านสุขอนามัยของศิษย์ ไม่ประพฤติล่วงเกิน บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 199
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More