เจรจาไพเราะ: ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 205
หน้าที่ 205 / 298

สรุปเนื้อหา

เจรจาไพเราะหมายถึงการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความน่ารักและเป็นมิตร โดยต้องมีความสุภาพและมีเมตตากับผู้ฟัง ด้วยความจริงใจและถูกกาลเทศะ ไม่ทำให้เกิดความเสียดสีหรือหมดกำลังใจ การมีบุคลิกภาพทางวาจาที่ดีย่อมช่วยสร้างกำลังใจให้กับผู้อื่น มาจากความคิดและความเห็นที่ถูกต้อง จึงสามารถกระตุ้นให้ผู้ฟังทำความดี จบบทบาทที่มีลักษณะ 7 ประการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม บุคคลที่มีวาจาไม่ไพเราะ หรือมีอัปปิยวาจาจะสร้างความเกลียดชังและขัดแย้งในสังคม.

หัวข้อประเด็น

- เจรจาไพเราะ
- ปิยวาจา
- การพูดสุภาพ
- ความหมายของคำพูด
- คุณธรรมในวาจา
- ผลกระทบของคำพูดต่อสังคม
- บุคลิกภาพทางวาจา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.4.2 เจรจาไพเราะ (ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ) เจรจาไพเราะ หมายถึงอะไร เจรจาไพเราะในบริบทนี้หมายถึง การใช้คำพูดเพื่อให้เป็นคนน่ารัก เพราะฉะนั้นจึงมีขอบเขต กว้างขวางกว่าการพูดไพเราะ อ่อนหวานเท่านั้น แต่อาจจะต้องมีความหมายอยู่ในลักษณะต่อไปนี้คือ 1) เป็นคำพูดสุภาพ ไม่หยาบคาย สบายหู ไม่เพ้อเจ้อ ฟังแล้วชื่นใจทุกครั้ง 2) เป็นคำพูดที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ซึ่งผู้ฟังสามารถ รู้สึกได้ถึงคุณธรรมของผู้พูด 3) เป็นคำจริง ไม่โกหก มีประโยชน์ แต่ต้องกล่าวให้ ถูกกาลเทศะ มิฉะนั้นอาจจะเกิด โทษแก่หลายฝ่าย และตัวผู้พูดก็จะกลายเป็นคนน่ารังเกียจ แทนที่จะน่ารัก 4) เป็นคำพูดที่แสดงความจริงใจ และความปรารถนาดีอย่างแท้จริง แต่ต้องกล่าวให้ถูก กาลเทศะ และใช้สำนวนภาษา ที่ฟังเข้าใจง่าย มิฉะนั้นจะเกิดโทษต่อผู้พูดเอง 5) เป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจในการทำความดี ทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาตนให้เป็น กัลยาณมิตรต่อชาวโลก 6) ไม่เป็นคำพูดส่อเสียด ที่ทำให้คนแตกแยกกัน 7) ไม่เป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังท้อแท้ หมดกำลังใจที่จะทำความดี หมดกำลังใจที่จะสู้ชีวิต หรือ แม้การมีชีวิตอยู่ต่อไป บุคคลใดก็ตามที่มีพฤติกรรมทางวาจาอยู่ในลักษณะ 7 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมถือได้ ว่าเป็นผู้เจรจาไพเราะ หรือ มีปิยวาจา ย่อมเป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ ส่วนบุคคลที่มีพฤติกรรมทางวาจา ที่ตรงกันข้ามกับลักษณะ 7 ประการนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ เจรจาไม่ไพเราะ หรือมีอัปปิยวาจา ย่อมเป็นคนไม่น่ารัก ไม่น่าเข้าใกล้ ทำไมบางคนจึงมีปิยวาจาแต่บางคนมีอัปปิยวาจา สาเหตุของปัญหานี้อาจมองได้หลายแง่มุม ถ้ามองในแง่ของทิฏฐิ หรือความเห็น ย่อมกล่าวได้ว่า พฤติกรรมทางวาจาของคนเราสืบเนื่อง มาจากความคิด และความคิดก็สืบเนื่องมาจากความเห็น กล่าวคือบุคคลที่มีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมคิดถูก คิดดี จึงพูดถูก พูดดี คือ พูดสุภาพอ่อนน้อม เป็นคำจริง มีประโยชน์ มีความปรารถนาดีอย่างจริงใจ และพูดถูกกาลเทศะ คำพูดของสัมมาทิฏฐิชนย่อม เป็นคำพูดที่สร้างสรรค์ ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจทำคุณความดีและบุญกุศลทุกรูปแบบ ในทางกลับกัน บุคคลที่มีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคิดผิดๆ คิดชั่วๆ จึงมีแต่วาจาชั่วร้าย เช่น 190 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More