มาตรฐานคนดีที่โลกต้องการ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 268
หน้าที่ 268 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานของคนดีตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ โดยแบ่งลักษณะของคนดีออกเป็น 4 ประเภท พร้อมทั้งระบุว่าคนดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรที่จะสามารถปฏิบัติตนเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า มาตรฐานที่กำหนดไว้รวมถึงการละกรรมกิเลส การไม่ทำบาปกรรม การไม่ข้องแวะกับอบายมุข และการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากบาปกรรม การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขจึงจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย

หัวข้อประเด็น

-มาตรฐานคนดี
-คนดีในพระพุทธศาสนา
-การไหว้ทิศ 6
-ลักษณะคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จะตอบ คำถามเรื่องการไหว้ทิศ 6 ต่อไป เพราะหากไม่ทราบถึงมาตรฐานคนดีที่โลก ต้องการนี้ก่อนแล้ว การจะฟังเรื่องทิศ 6 ในความหมายของพระอริยสาวกให้เข้าใจถึงขั้น ลงมือนำไปปฏิบัติ เพื่อปฏิรูปแก้ไขตนเองต่อไป ก็คงเป็นเรื่องยาก อีกประการหนึ่ง การที่พระพุทธองค์ต้องทรงกำหนดมาตรฐานคนดีที่โลกต้องการให้ สิงคาลกมาณพฟังเป็นอันดับแรก ก็เพราะว่า ในทุกยุคทุกสมัยของโลกมนุษย์นี้ คนส่วน มากยังเข้าใจความหมายของคำว่า “คนดี” ไม่ชัดเจน ซึ่งแบ่งออกได้ เป็น 4 ลักษณะสำคัญ คือ ลักษณะที่ 1 คนดี คือ คนที่ตั้งใจทำความดี และละเว้นความชั่วไปพร้อมๆ กันอย่าง สุดชีวิต ส่งผลให้จิตใจของเขามีความผ่องใสมากขึ้นไปตามลำดับ ลักษณะที่ 2 คนดี คือ คนที่ยังไม่ได้ทำความชั่ว แต่ว่าความดีก็ยังไม่คิดจะทำ ใจของ เขาไม่ใส ไม่ขุ่น เป็นเหมือนกระจกฝ้า ลักษณะที่ 3 คนดี คือ คนที่ทำชั่วน้อยกว่าคนอื่น มีใจขุ่นมัวน้อยกว่าคนชั่วทั้งหลาย ลักษณะที่ 4 คนดี คือ คนที่ทำความชั่วได้มากกว่าคนอื่น เหล่าคนพาลจึงมองว่ามี ความเก่งกล้า พิเศษกว่าคนอื่น ยิ่งทำความชั่วได้มากเท่าใด ในหมู่คนพาลยิ่งถือว่านั่นคือ คนดีมากเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าความจริงก็คือ จิตใจของผู้นั้นยิ่งมืดบอดมากขึ้น แต่มาตรฐานคนดีที่พระองค์ทรงกำหนดมี 4 ประการ คือ 1) คนดีต้องละกรรมกิเลส 4 2) คนดีต้องไม่ทำบาปกรรมเพราะอคติ 4 3) คนดีต้องไม่ข้องแวะกับอบายมุข 6 4) คนดี คือ นอกจากตนจะเป็นผู้ปราศจาก บาปธรรม 14 ประการ ดังกล่าว ใน 3 ข้อ ที่ผ่านมาแล้วยังจะต้องสามารถอนุเคราะห์ทิศ 6 ของตน ให้พ้นจากบาปกรรม 14 ประการอีกด้วย จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ 6 การที่คนดีมีมาตรฐานครบทั้ง 4 ข้อนี้ ถือได้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อครองโลกทั้งสอง ซึ่งหมายถึงการมี ชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริงในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้และโลกหน้า กล่าวคือขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็เป็นสุข ครั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปบังเกิดใหม่เพื่อเสวยผลแห่งกรรมดีของตน ในสุคติโลกสวรรค์ อย่างแน่นอน มีความจริงอยู่ว่า การที่คนเราจะมีชีวิตเป็นสุขในโลกนี้ได้นั้น จะต้องมีปัจจัยสำคัญยิ่ง คือ การได้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม และเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 253
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More